Category Archives: สถานีหมอชิต

สถานีหมอชิต

สถานีหมอชิต is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the focus keyword name in category.

สถานีหมอชิต (อังกฤษMo Chit Station, รหัส N8) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้า ในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) สายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร บริเวณหน้าสวนจตุจักร เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่สำคัญของกรุงเทพฯ ด้านเหนือ โดยสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังสถานีสวนจตุจักร ของรถไฟฟ้ามหานครได้ และยังอยู่ไม่ไกลจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร), สถานีขนส่งสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ และสถานีกลางบางซื่อ

ที่ตั้ง[แก้]

สถานีหมอชิต

ภายในอาณาบริเวณของศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ด้านหน้าสวนจตุจักรด้านทิศใต้ ในพื้นที่แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สถานีหมอชิตเคยทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางของระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เปิดทำการจนถึง พ.ศ. 2562 แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำหน้าที่นี้อีกต่อไป เนื่องจากกรุงเทพมหานคร และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เปิดใช้งาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต (พหลโยธิน)-คูคต ระยะที่ 1 หมอชิต-ห้าแยกลาดพร้าว เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ทำให้มีการเดินรถเพิ่ม 1 สถานีจากหมอชิตข้ามทางยกระดับอุตราภิมุข ไปจนถึงห้าแยกลาดพร้าวแล้วตีกลับ และยังได้เตรียมที่จะเปิดใช้งานสถานีต่อเนื่องในระยะที่ 2 ตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าว-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ก่อนที่จะเปิดใช้งานทั้งโครงการใน พ.ศ. 2563 รวมระยะเวลาที่สถานีหมอชิตทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทาง 19 ปี 8 เดือน 4 วัน

ทั้งนี้ ที่ตั้งของสถานีหมอชิต ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางในการคมนาคมระบบรางแห่งใหม่ของประเทศไทย โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เตรียมแผนที่จะก่อสร้าง โมโนเรล และรถโดยสารด่วนพิเศษ ออกมาจากสถานีกลางบางซื่อ เพื่อรับ-ส่งผู้โดยสารรอบ ๆ ศูนย์คมนาคม ตลอดจนสถานีหมอชิต เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงและระบบรถไฟความเร็วสูงให้เข้าถึงรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเป็นหนึ่งในสายหลักที่จะเข้าสู่ย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเปลี่ยนเส้นทางซ้ำซ้อน

แผนผังสถานี[แก้]

U3
ชานชาลา
ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1  สายสุขุมวิท  มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ
ชานชาลา 2  สายสุขุมวิท  มุ่งหน้า สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร,
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
G
ระดับถนน
ป้ายรถประจำทาง, ลานจอดรถ Park & Ride,
สวนจตุจักรตลาดนัดสวนจตุจักรกรมการขนส่งทางบก
ทางเดินเชื่อม  สายเฉลิมรัชมงคล  สถานีสวนจตุจักร

เนื่องมาจากมีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพด้วยการแยกระหว่างขบวนไปสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสถานีหมอชิต รถไฟฟ้าที่สิ้นสุดที่สถานีหมอชิต จะใช้ชานชาลาที่ 2 เป็นชานชาลาปลายทาง ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะต้องออกจากขบวนรถ แล้วรอรถไฟฟ้าขบวนถัดไปที่ชานชาลาเดิม

รูปแบบของสถานี[แก้]

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา

สัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สีส้มตกแต่งรั้วและเสาบริเวณชานชาลา ป้ายทางเข้าและทางขึ้นสถานี เพื่อบ่งบอกว่าเป็นสถานีฝั่งพหลโยธินใต้

ทางเข้า-ออก[แก้]

  • 1 สวนจตุจักร, ป้ายรถประจำทางไปห้าแยกลาดพร้าวตลาดนัดจตุจักร
  • 2 ป้ายรถประจำทางไปสะพานควาย, สถาบันการบินพลเรือนกรมการขนส่งทางบก
  • 3 สวนจตุจักร, ป้ายรถประจำทางไปห้าแยกลาดพร้าว (บันไดเลื่อนปรับขึ้นช่วงเช้า และเลื่อนลงช่วงเย็น)
  • 4 ป้ายรถประจำทางไปสะพานควายและสถานีขนส่งจตุจักร, ลานจอดรถ, อาคารบีทีเอส (บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)), ซอยเฉยพ่วง (บันไดเลื่อน)
  • สกายวอล์ก เชื่อมต่อคอนโด เดอะไลน์ จตุจักร-หมอชิต (ลิฟต์), บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท นอร์ทเทิร์นบางกอกโมโนเรล จำกัด,บริษัท อีสเทิร์นบางกอกโมโนเรล จำกัด, ธนาคารทหารไทย สำนักงานใหญ่, โครงการโอเอซิส ของ สิงห์ เอสเตท (กำลังก่อสร้าง), หมอชิตคอมเพล็กซ์ (โครงการ)
  • ทุกช่องทางสามารถเชื่อมต่อ รถไฟฟ้ามหานคร ได้ที่ สถานีสวนจตุจักร

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออกที่ 2 หลังป้ายรถเมล์ข้างลิฟต์ของสถานีสวนจตุจักรของรถไฟฟ้ามหานคร

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 05.56 00.43
E23 เคหะฯ 05.15 23.45 / 00.15 (สำโรง)

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

  1. ลิฟต์ไปยังชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา
  2. ลานจอดรถขนาดใหญ่ บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า (สถานีขนส่งหมอชิตเดิม)

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง[แก้]

จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีสวนจตุจักรกับสถานีหมอชิต

บริการ สถานี/ป้ายหยุดรถ สายทาง
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน MRT (Bangkok) logo.svg สวนจตุจักร รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
รถโดยสารประจำทาง TransLink-op-head-bus-right.png สวนจตุจักร ช่วงเวลาปกติ
A1 A2 3 8 26 27 29 34 39 44 52 59 63 77 90 96 104 108 122 134 136 138 145 157 182 502 503 509 510 517 524 529 Y70E
เฉพาะช่วงเช้า
28 108
กะสว่าง
3 29 34 59 63 134 145
รถชัตเติลบัส TransLink-op-head-bus-right.png สวนจตุจักร เชื่อมต่อไปยัง ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

ทางออกฝั่งสวนจตุจักร

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์13.802617°N 100.553853°E

สถานีใกล้เคียง[แก้]

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีห้าแยกลาดพร้าว
มุ่งหน้า สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 สายสุขุมวิท  สถานีสะพานควาย
มุ่งหน้า สถานีเคหะฯ
สถานีพหลโยธิน
มุ่งหน้า สถานีหลักสอง
 สายเฉลิมรัชมงคล 
(การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย)
เชื่อมต่อที่ สถานีสวนจตุจักร
สถานีกำแพงเพชร
มุ่งหน้า สถานีเตาปูน

เขตจตุจักร เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติศาสตร์[แก้]

แต่เดิม ตำบลลาดยาว เป็นท้องที่ปกครองของอำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร สภาพทั่วไปเป็นทุ่งนา มีประชากรตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ตามริมคลองสายหลัก เช่น คลองเปรมประชากร คลองบางซื่อ คลองบางเขน คลองลาดยาว เป็นต้น ต่อมาจึงได้มีชุมชนและบ้านจัดสรรต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของตัวเมืองในช่วงหลังจากปี พ.ศ. 2507 อันเป็นปีที่ขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพซึ่งครอบคลุมตำบลลาดยาวด้วย

ในปี พ.ศ. 2514 มีประกาศรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งเปลี่ยนการเรียกคำว่าตำบลและอำเภอใหม่ ตำบลลาดยาวจึงมีฐานะเป็น แขวงลาดยาว ขึ้นกับเขตบางเขน

ภายหลังพื้นที่เขตบางเขนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก พื้นที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกแขวงลาดยาวและประกาศจัดตั้งเป็น เขตจตุจักร พร้อมกับจัดตั้งเขตดอนเมือง ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงในเขตจตุจักรใหม่ โดยจัดตั้งแขวงเสนานิคม แขวงจันทรเกษม แขวงจอมพล และแขวงจตุจักร แยกออกจากแขวงลาดยาว เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการให้บริการของเขต เพราะเดิมเขตจตุจักรมีเพียงแขวงลาดยาวเพียงแขวงเดียว แต่มีพื้นที่กว้างขวางและมีประชากรอาศัยหนาแน่น จึงทำให้มีเลขที่บ้านซ้ำกันเป็นจำนวนมาก โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน[2][3] ทำให้ปัจจุบัน เขตจตุจักรแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่น
(ธันวาคม 2561)
ลาดยาว Lat Yao
10.69
42,560
27,325
3,981.29
เสนานิคม Sena Nikhom
2.826
19,869
15,694
7,030.78
จันทรเกษม Chan Kasem
6.026
38,754
25,856
6,431.13
จอมพล Chom Phon
5.488
31,344
31,203
5,711.37
จตุจักร Chatuchak
7.878
23,396
13,475
2,969.78
ทั้งหมด
32.908
155,923
113,553
4,738.14

ประชากร[แก้]

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 ได้เกิดเหตุทะเลาะวิวาทโดยเกิดการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กันขึ้นมีผู้เสียชีวิต 6 รายที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 22.00 น. ได้เกิดเหตุไฟไหม้ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ มีผู้เสียชีวต 1 ราย ได้แก่ นาย เดชา ด้วง ชนะ[5]

วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เปิดใช้อุโมงค์ทางลอดแยกรัชโยธิน ตามแนวถนนรัชดาภิเษก อุโมงค์ทางลอดมีขนาด 4 ช่องจราจร กว้าง 16.80 เมตร ยาว 1,085 เมตร ความสูงช่องทางลอด 5.25 เมตร และต่ำกว่าถนน 7.50 เมตร

การคมนาคม[แก้]

ในพื้นที่เขตจตุจักรมีทางสายหลัก ได้แก่

ส่วนทางสายรอง ได้แก่

ทางด่วน

ทางน้ำ

รถไฟฟ้า

รถโดยสาร

สถานที่สำคัญ[แก้]

สถานศึกษา[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1.  สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “สถิติประชากรและบ้าน – จำนวนประชากรแยกรายอายุ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 3 มกราคม 2562.
  2.  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00134192.PDF
  3.  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00134191.PDF
  4.  สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. “จำนวนประชากรและบ้าน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  5.  http://www.komchadluek.net/news/crime/200983
Call Now Button