Category Archives: วัดศรีบุญเรือง

วัดศรีบุญเรือง

วัดศรีบุญเรือง is a position for activity in post to be presented at the 1st  rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.

สร้างเมื่อ : รัชกาลที่ 3 บริเวณทุ่งบางกะปิ เมื่อครั้งต้นรัตนโกสินทร์นั้น แต่ก่อน เคยเป็นนาข้าว ที่ปลูกเป็นแนวยาว ริมคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นคลองที่ขุดขึ้นใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น สิ่งที่ตามมา ภายหลังจากการขุดคลองก็คือ ชุมชนใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ตามเส้นทางสัญจรทางน้ำนั่นเอง และจากชุมชนที่เกิดใหม่ ภายหลังจากการขุดคลองในแผ่นดินของรัชกาลที่ 3 นี่เอง ก็มีการตั้งบ้านเรือน ทุ่งนา รวมทั้งวัดวาอารามตามมาด้วย ซึ่งทุ่งบางกะปินี้ ก็มีวัดที่เกิดใหม่ในยุคนี้อยู่หลายวัด อาทิ วัด ศรีบุญเรือง เป็นต้น วัดที่ทุ่งบางกะปินี้ อยู่บนถนน สุขาภิบาล ด้านหลังวัด สร้างติดริมคลองแสนแสบ วัดนี้สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของชาวบ้าน ที่เพิ่งย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ตามเส้นทางคมนาคมทางน้ำใหม่ในปี พ.ศ. 2373 และแม้ว่าวัดนี้จะสร้างขึ้น ต้นรัตนโกสินทร์ แต่วัดนี้ก็มีวัตถุมงคลประจำวัด ที่มีอายุเก่าแก่กว่าราชธานีใหม่นี่เสียอีก เพราะชาวบ้าน และเจ้าอาวาสของวัดในยุคเมื่อแรกสร้างนั้น ได้อัญเชิญพระพุทธรูป หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย ที่สร้างมาแต่สมัย สุโขทัย มาเป็นพระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูปนี้มีหน้าตักกว้างถึง 27 นิ้ว และสูงราว 30 นิ้ว นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ (เข่า) และพระดัชนี (นิ้วชี้) ชี้ลงไปยังธรณี ซึ่งพระพุทธรูปในลักษณะนี้มีเพียง 3 องค์ในประเทศไทย นอกจากพระประธานหายากองค์นี้แล้ว พระพุทธรูปที่ตั้งขนาบซ้าย-ขวา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน 2 องค์ เป็นปางทรมานพระยาชมพู ที่แกะสลักจากไม้ลงรักปิดทอง ที่สวยงามประณีตเป็นอันมากด้วย วัด ศรีบุญเรืองนั้น ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่จัดกิจกรรมทางศาสนาอยู่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะการจัดให้มีการบวชชีพราหมณ์ขึ้นในทุกๆ วันสำคัญทางศาสนานั้น ก็เป็นกิจกรรมยอดนิยมของพุทธศาสนิกชน ในละแวกนั้นมาโดยตลอด

เขตบางกะปิ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออก (ตอนใต้)

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตบางกะปิตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติ[แก้]

พื้นที่บริเวณเขตบางกะปิในอดีตเป็นป่าทึบ มีชื่อเรียกว่า บางกบี่[2] ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบาง จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพไปปราบจนสำเร็จ และได้กวาดต้อนผู้คนตามหัวเมืองรายทางมาตั้งถิ่นฐานบริเวณริมคลองแสนแสบและคลองกุ่ม

เมื่อมีผู้คนหนาแน่นมากขึ้น จึงได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอบางกะปิ ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระนคร ซึ่งในปี พ.ศ. 2509 ทางราชการได้แบ่งพื้นที่ตำบลบางกะปิและตำบลห้วยขวางไปจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท

ในช่วงปี พ.ศ. 25142515 มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองภูมิภาคไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี กล่าวคือ รวมจังหวัดทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่เป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางกะปิจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตบางกะปิ แบ่งออกเป็น 9 แขวง (ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้โอนแขวงสามเสนนอกไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง)

เนื่องจากมีอาณาเขตกว้างขวาง และต่อมามีประชากรเพิ่มขึ้น ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต เพื่อสะดวกแก่การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงแบ่งพื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่ม ในปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2540 ก็ได้รวมพื้นที่แขวงวังทองหลางและบางส่วนของแขวงคลองจั่นไปจัดตั้งเป็นเขตวังทองหลาง

โดยที่มาของชื่อ “บางกะปิ” นั้น มีข้อสันนิษฐานมากมาย ตั้งแต่คำว่า “กบิ” หรือ “กบี่” ที่หมายถึง ลิง เพราะพื้นที่แถบนี้ในอดีตเคยเป็นป่าทึบ มีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (ซึ่งสัญลักษณ์ของเขตก็เป็นรูปหนุมานด้วย)[2] หรือมาจาก “กะปิ” ซึ่งเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพราะพื้นที่นี้แต่เดิมอุดมสมบูรณ์ด้วยกุ้งเล็ก ๆ มากมาย ประชาชนจึงนิยมนำมาทำกะปิกันมาก

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ปัจจุบันเขตบางกะปิมีหน่วยการปกครองย่อย 2 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2561)
คลองจั่น Khlong Chan
12.062
79,048
47,720
6,553.47
หัวหมาก Hua Mak
16.461
67,793
56,514
4,118.40
ทั้งหมด
28.523
146,841
104,234
5,148.16

โดยมีคลองแสนแสบฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างสองแขวงดังกล่าว

ประชากร[แก้]

สถานที่สำคัญ[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ทางสายหลัก
ทางสายรองและทางลัด
  • ถนนแฮปปี้แลนด์
  • ถนนกรุงเทพกรีฑา
  • ถนนหัวหมาก
  • ถนนโพธิ์แก้ว
  • ถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง)
  • ซอยรามคำแหง 21 (นวศรี)
  • ซอยรามคำแหง 24
ทางน้ำ
  • คลองแสนแสบ
  • คลองลาดพร้าว
Call Now Button