Category Archives: ถนนรามคำแหง

ถนนรามคำแหง

ถนนรามคำแหง is a position for activity in post to be presented at the 1st  rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.

ถนนรามคำแหง (อักษรโรมันThanon Ramkhamhaeng) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออก มีความยาวรวมทั้งหมดประมาณ 18 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ

  1. ช่วงจากสี่แยกคลองตันถึงแยกลำสาลี
  2. ช่วงจากแยกลำสาลีถึงแยกตัดกับถนนสุวินทวงศ์[1]
ช่วงจากสี่แยกคลองตันถึงแยกลำสาลี

มีจุดเริ่มต้นที่แยกคลองตันในพื้นที่เขตสวนหลวง ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนเพชรบุรี ถนนพัฒนาการ และถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) ขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านแยกรามคำแหง (จุดตัดกับถนนพระราม 9) ผ่านแยกวัดเทพลีลา และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ,การกีฬาแห่งประเทศไทย ไปสิ้นสุดที่แยกลำสาลีในพื้นที่เขตบางกะปิ มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร[2] มีทางยกระดับช่วงตั้งแต่ซอยรามคำแหง 13 หน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ จนถึงซอยรามคำแหง 81/4 สถานที่สำคัญบนถนนช่วงนี้ มีมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ราชมังคลากีฬาสถาน (สนามกีฬาหัวหมาก) วัดพระไกรสีห์ และวัดเทพลีลา

อนึ่ง ถนนรามคำแหงช่วงสี่แยกคลองตันถึงแยกลำสาลี ฝั่งขาเข้าเมือง จะไม่มีซอยรามคำแหง 6

ทางแยกในถนนรามคำแหงช่วงสี่แยกคลองตันถึงแยกลำสาลี มีดังนี้

โดยถือว่าเป็นถนนที่มีการจราจรที่ติดขัดและคับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร[2]

ช่วงจากแยกลำสาลีถึงแยกตัดกับถนนสุวินทวงศ์

ถนนช่วงนี้เดิมชื่อว่าถนนสุขาภิบาล 3[3] มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร เริ่มต้นจากแยกลำสาลีในเขตบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพ่วงศิริ ผ่านแยกบ้านม้า (จุดตัดกับถนนศรีบูรพา) เข้าพื้นที่เขตสะพานสูง ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก เข้าพื้นที่เขตมีนบุรี ผ่านแยกลาดบัวขาว (จุดตัดกับถนนมีนพัฒนา) และแยกรามคำแหง-ร่มเกล้า (จุดตัดกับถนนร่มเกล้า) ไปสิ้นสุดที่แยกรามคำแหง-สุวินทวงศ์ สถานที่สำคัญบนถนนช่วงนี้ มีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า วัดศรีบุญเรือง วัดบางเพ็งใต้ โรงเรียนเทพอักษร โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี และการเคหะมีนบุรี

ระบบขนส่งมวลชน

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม

เขตบางกะปิ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออก (ตอนใต้)

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตบางกะปิตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติ[แก้]

พื้นที่บริเวณเขตบางกะปิในอดีตเป็นป่าทึบ มีชื่อเรียกว่า บางกบี่[2] ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบาง จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพไปปราบจนสำเร็จ และได้กวาดต้อนผู้คนตามหัวเมืองรายทางมาตั้งถิ่นฐานบริเวณริมคลองแสนแสบและคลองกุ่ม

เมื่อมีผู้คนหนาแน่นมากขึ้น จึงได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอบางกะปิ ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระนคร ซึ่งในปี พ.ศ. 2509 ทางราชการได้แบ่งพื้นที่ตำบลบางกะปิและตำบลห้วยขวางไปจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท

ในช่วงปี พ.ศ. 25142515 มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองภูมิภาคไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี กล่าวคือ รวมจังหวัดทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่เป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางกะปิจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตบางกะปิ แบ่งออกเป็น 9 แขวง (ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้โอนแขวงสามเสนนอกไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง)

เนื่องจากมีอาณาเขตกว้างขวาง และต่อมามีประชากรเพิ่มขึ้น ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต เพื่อสะดวกแก่การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงแบ่งพื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่ม ในปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2540 ก็ได้รวมพื้นที่แขวงวังทองหลางและบางส่วนของแขวงคลองจั่นไปจัดตั้งเป็นเขตวังทองหลาง

โดยที่มาของชื่อ “บางกะปิ” นั้น มีข้อสันนิษฐานมากมาย ตั้งแต่คำว่า “กบิ” หรือ “กบี่” ที่หมายถึง ลิง เพราะพื้นที่แถบนี้ในอดีตเคยเป็นป่าทึบ มีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (ซึ่งสัญลักษณ์ของเขตก็เป็นรูปหนุมานด้วย)[2] หรือมาจาก “กะปิ” ซึ่งเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพราะพื้นที่นี้แต่เดิมอุดมสมบูรณ์ด้วยกุ้งเล็ก ๆ มากมาย ประชาชนจึงนิยมนำมาทำกะปิกันมาก

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ปัจจุบันเขตบางกะปิมีหน่วยการปกครองย่อย 2 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2561)
คลองจั่น Khlong Chan
12.062
79,048
47,720
6,553.47
หัวหมาก Hua Mak
16.461
67,793
56,514
4,118.40
ทั้งหมด
28.523
146,841
104,234
5,148.16

โดยมีคลองแสนแสบฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างสองแขวงดังกล่าว

ประชากร[แก้]

สถานที่สำคัญ[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ทางสายหลัก
ทางสายรองและทางลัด
  • ถนนแฮปปี้แลนด์
  • ถนนกรุงเทพกรีฑา
  • ถนนหัวหมาก
  • ถนนโพธิ์แก้ว
  • ถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง)
  • ซอยรามคำแหง 21 (นวศรี)
  • ซอยรามคำแหง 24
ทางน้ำ
  • คลองแสนแสบ
  • คลองลาดพร้าว
Call Now Button