Category Archives: ถนนนิมิตใหม่

ถนนนิมิตใหม่

ถนนนิมิตใหม่ is a position for activity in post to be presented at the 1st  rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.

ถนนนิมิตใหม่ (อักษรโรมันThanon Nimit Mai) เป็นเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่เขตมีนบุรี เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

ลักษณะ[แก้]

ถนนนิมิตใหม่มีความยาวประมาณ 14 กิโลเมตร มีเส้นทางแยกจากถนนสุวินทวงศ์ในแขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนประชาร่วมใจ โดยช่วงตั้งแต่ปากซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) ถึงปากซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตมีนบุรีกับเขตคลองสามวา เมื่อเลยไปจึงเข้าสู่ท้องที่แขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา จากนั้นข้ามคลองหนึ่ง เมื่อเลยปากซอยนิมิตใหม่ 19 (วัดบัวแก้ว) แล้วจึงตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนวัดสุขใจ (เข้าวัดสุขใจแยกถนนนิมิตใหม่) และถนนหทัยมิตร (หทัยมิตรเชื่อมถนนนิมิตใหม่หทัยราษฎร์) จากนั้นข้ามคลองสองเข้าสู่แขวงสามวาตะวันออก ข้ามคลองสาม เมื่อเลยซอยกาเซ็มจึงโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองสี่ จากนั้นตัดกับถนนราษฎร์นิมิตร (นิมิตใหม่-หทัยราษฎร์) ซอยนิมิตใหม่ 64 (ทางเข้าโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2) และถนนไมตรีจิต (เข้าวัดศรีสุขแยกถนนนิมิตใหม่) เมื่อเลยปากซอยนิมิตใหม่ 66 (วัดลำกะดาน) จึงเข้าสู่เขตตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยมุ่งไปทางทิศเหนือ จากนั้นข้ามคลองหกวา (สายล่าง) ไปบรรจบกับถนนลำลูกกา ใกล้กับตลาดใหญ่ลำลูกกา ตลอดแนวของถนนนิมิตใหม่ฟากตะวันออกนั้นมีแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติอยู่ใต้พื้นถนนตั้งแต่เขตมีนบุรีไปจนถึงอำเภอลำลูกกา โดยช่วงตั้งแต่ทางแยกตลาดลำลูกกาจนถึงเขตจังหวัดปทุมธานีกับกรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3592

ประวัติ[แก้]

ถนนสายนี้ตัดขึ้นโดยสำนักการโยธาเป็นผู้ควบคุมดูแล เมื่อแล้วเสร็จ ทางสำนักงานเขตมีนบุรีได้ยึดถือตามประกาศกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ที่ระบุให้ใช้ชื่อถนนว่า ถนนนิมิตรใหม่ ภายหลังสถานีตำรวจซึ่งตั้งขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2537 เพื่อดูแลท้องที่แขวงสามวาตะวันออกและบางส่วนของแขวงสามวาตะวันตกและแขวงทรายกองดินใต้ (ซึ่งเป็นบริเวณที่ถนนสายนี้ตัดผ่าน) จึงใช้ชื่อว่านิมิตรใหม่ด้วยและสะกดตามแบบที่กรุงเทพมหานครใช้

ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2539–2540 ได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตเดิมและจัดตั้งเขตใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้ระยะทางส่วนใหญ่ของถนนรวมถึงที่ตั้งของสถานีตำรวจไปอยู่ในพื้นที่เขตคลองสามวา ซึ่งทางเขตได้สะกดชื่อถนนและซอยย่อยว่า “นิมิตใหม่” โดยไม่มี ร เรือ สะกด แตกต่างจากเขตมีนบุรีซึ่งยังคงใช้ ร เรือ อยู่ ป้ายชื่อซอยจึงเขียนว่า “นิมิตรใหม่” การสะกดชื่อไม่เหมือนกันทำให้ประชาชนและหน่วยงานราชการต่าง ๆ เกิดความสับสน เนื่องจากไม่แน่ใจว่าเขียนอย่างไรจึงจะถูกต้อง หน่วยงานของกรุงเทพมหานครหลายแห่งได้ถูกสอบถามเพื่อขอความกระจ่างเป็นจำนวนมาก

คณะกรรมการกลางตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย วงเวียน ทางแยก คลอง สะพาน และสถานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานคร จึงจัดการประชุมขึ้น ประกอบด้วยผู้อำนวยการกองธรรมศาสตร์และการเมืองซึ่งเป็นตัวแทนจากราชบัณฑิตยสถาน รวมทั้งตัวแทนจากกรมศิลปากร สำนักงานเขตที่เกี่ยวข้อง และกองปกครองและทะเบียน ร่วมกันพิจารณาเรื่องชื่อถนนนิมิตรใหม่ ทางราชบัณฑิตยสถานได้ให้เหตุผลว่า การสะกดชื่อถนนสายนี้ตามหลักภาษาไทยควรใช้คำว่า “นิมิตใหม่” จึงจะถูกต้อง โดยอธิบายว่า คำว่า “นิมิต” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 มีความหมายว่า สร้าง แปลง ทำ เมื่อรวมกับคำว่า “ใหม่” จึงน่าจะมีความหมายว่า สร้างหรือแปลงขึ้นมาใหม่ หากใช้แบบมี ร เรือ จะกลายเป็นคำที่ไม่มีความหมาย

ดังนั้น สำนักงานเขตมีนบุรีจึงต้องไปเปลี่ยนป้ายชื่อถนน ป้ายชื่อซอยบริเวณต้นถนนรวม 8 ป้าย ได้แก่ ซอยนิมิตรใหม่ 1 ซอยนิมิตรใหม่ 3 ซอยนิมิตรใหม่ 3/1 ซอยนิมิตรใหม่ 3/2 ซอยนิมิตรใหม่ 2 ซอยนิมิตรใหม่ 4 ซอยนิมิตรใหม่ 6 และซอยนิมิตรใหม่ 6/1 รวมทั้งป้ายซอยย่อยต่าง ๆ อีก 15 ป้าย และต้องทยอยแก้ไขฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรในบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน 2,000 หลัง เป็น นิมิตใหม่ ตามการสะกดชื่อแบบใหม่ทั้งหมด ขณะที่ในเขตคลองสามวาไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เนื่องจากเขียนป้ายชื่อถนนและซอยโดยไม่ใช้ ร เรือ มาตั้งแต่แรกแล้ว แต่ทางสำนักงานเขตได้ประสานแจ้งมติการเปลี่ยนชื่อถนนสายดังกล่าวไปยังสถานีตำรวจนครบาลนิมิตรใหม่ด้วย ส่วนในอำเภอลำลูกกาซึ่งเป็นพื้นที่ปลายทางของถนนนั้น กรุงเทพมหานครก็ได้แจ้งไปยังเทศบาลตำบลลำลูกกาเพื่อจะได้แก้ไขป้ายชื่อถนนเสียใหม่เช่นกัน

สถานที่สำคัญ[แก้]

เขตคลองสามวา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีคลองสามวาผ่านกลางพื้นที่และมีคลองซอยเชื่อมระหว่างคลองหลักเป็นก้างปลา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม ปัจจุบันเขตคลองสามวาเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากเขตสายไหม

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลำลูกกา (จังหวัดปทุมธานี) มีแนวคันนาแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดปทุมธานีเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหนองจอก มีคลองเก้า คลองแบนชะโด และคลองลัดตาเตี้ยเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตมีนบุรี มีคลองแสนแสบ คลองลำบึงไผ่ ซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) ถนนนิมิตใหม่ ซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) คลองสามวา ลำรางสามวา คลองเจ๊ก ลำรางโต๊ะสุข ถนนหทัยราษฎร์ ซอยหทัยราษฎร์ 29 (โชคอนันต์) ลำรางคูคต และคลองพระยาสุเรนทร์ 1 (กีบหมู) เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตคันนายาว เขตบางเขน และเขตสายไหม มีคลองบางชัน คลองคู้บอน คลองคู้ชุมเห็ด และคลองพระยาสุเรนทร์ (หนองใหญ่) เป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติ[แก้]

บริเวณเขตคลองสามวาในปัจจุบันเดิมอยู่ในเขตการปกครองของ อำเภอคลองสามวา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับมณฑลกรุงเทพ[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ยกท้องที่บริเวณทุ่งแสนแสบทางทิศตะวันออกของพระนครขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามว่า “เมืองมีนบุรี[3][4] อำเภอคลองสามวาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง[3] เนื่องจากเป็นอำเภอที่ตั้งของเมือง (จังหวัด) ใหม่แห่งนี้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2474 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ทางการจึงได้ยุบจังหวัดมีนบุรีเข้ากับจังหวัดพระนคร[3] อำเภอเมืองถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอมีนบุรี

ในปี พ.ศ. 2505 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งตำบลทรายกองดินใต้โดยแบ่งพื้นที่จากตำบลทรายกองดิน[5] โดยในปีถัดมาก็ได้ขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมทั้งอำเภอด้วย[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 มีการปรับปรุงการบริหารราชการเมืองหลวงใหม่ อำเภอมีนบุรีจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตมีนบุรี ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร[7] แบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 แขวง

ต่อมาเขตมีนบุรีมีประชากรหนาแน่นและมีความเจริญเพิ่มขึ้น ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศแยกพื้นที่ 5 แขวงทางด้านเหนือของเขตมีนบุรีมาจัดตั้งเป็นเขตใหม่เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน และได้ใช้ชื่อเขตใหม่นี้ว่า เขตคลองสามวา[8] เพื่อคงชื่อในประวัติศาสตร์ไว้[9] โดยสำนักงานเขตคลองสามวาได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540[8][9] พร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตหลักสี่[10] เขตสายไหม[11] เขตคันนายาว[11] เขตสะพานสูง[11] และเขตวังทองหลาง[12]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เขตคลองสามวาแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่น
(ธันวาคม 2561)
สามวาตะวันตก Sam Wa Tawan Tok
24.249
56,670
23,595
2,237.00
สามวาตะวันออก Sam Wa Tawan Ok
40.574
26,064
9,087
642.38
บางชัน Bang Chan
18.644
85,843
40,135
4,604.32
ทรายกองดิน Sai Kong Din
11.396
12,631
4,952
1,108.37
ทรายกองดินใต้ Sai Kong Din Tai
15.823
16,811
4,643
1,062.44
ทั้งหมด
110.686
198,019
82,412
1,789.01

ประชากร[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ในพื้นที่เขตคลองสามวามีถนนสายหลักซึ่งเชื่อมการคมนาคมเขตนี้เข้ากับเขตใกล้เคียง ได้แก่

ส่วนถนนสายรองและถนนที่ตัดผ่านเฉพาะแต่ละท้องถิ่น ได้แก่

ทางน้ำมีคลองแสนแสบและคลองบางชัน

 

Call Now Button