Showing 1–12 of 16 results

เมทัลชีท

เมทัลชีท

เมทัลชีท (Metel sheet) แปลตรงตัวก็คือแผ่นเหล็ก ซึ่งมักจะเห็นเป็นแผ่นเหล็กชิ้นใหญ่รีดบาง หรือรีดเป็นลอน (หรือที่เข้าใจกันว่าเป็นสังกะสีมุงหลังคา) โดยไม่ได้ใช้กับงานหลังคาเท่านั้น แผ่นเมทัลชีทแบ่งออกเป็น 4 แบบ ได้แก่ หลังคา, ผนัง, บานเกร็ด และแผ่นปิดครอบ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความนิยมในการเลือกใช้วัสดุเมทัลชีทมาทำหลังคาบ้านได้รับความนิยมสูงมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะบ้านสไตล์ Modern ที่ต้องการความเรียบแบน มีความชันของหลังคาต่ำ ซึ่งเมทัลชีทสามารถออกแบบหลังคาได้ต่ำสุดถึง 5 องศา (ขึ้นอยู่กับชนิดของรูปลอนและความยาวของระยะแปของหลังคา) แต่หากใช้วัสดุกระเบื้องหลังคาซีแพ็คทั่วไปจะไม่สามารถทำได้ ครั้นจะใช้หลังคา Slab คอนกรีตก็มีต้นทุนที่สูงกว่ากันมาก ทางเลือกในการนำเมทัลชีทมาใช้ทำหลังคาจึงได้คะแนนทั้งด้านดีไซน์ การติดตั้งที่รวดเร็ว และราคาก่อสร้าง

แต่ปัญหาหลัก ๆ ของการใช้เมทัลชีท คือ ความร้อน และมีเสียงดังรบกวนเมื่อฝนตก เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” จึงขอพาไปทำความรู้จักกับเมทัลชีทให้มากขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านที่กำลังสร้างบ้านและกำลังตัดสินใจเลือกเมทัลชีท ได้รู้จุดเด่น จุดด้อยของเมทัลชีท และเลือกสเปคเมทัลชีทได้เหมาะสมกับการใช้งานครับ

เมทัลชีท คืออะไร?

เมทัลชีท (Metal Sheet) คือ แผ่นเหล็กรีดลอนโลหะผสมระหว่าง อลูมิเนียม และสังกะสี  เหมาะสำหรับทั้งงานภายในและภายนอก งานผนัง งานรั้วและงานหลังคา คุณสมบัติเด่นชัดของเมทัลชีทคือสามารถสั่งผลิตตามขนาดความยาวของหลังคาได้ จึงทำให้เกิดรอยต่อของแผ่นหลังคาน้อย ปัญหารั่วซึมจึงน้อยกว่าหลังคากระเบื้องทั่วไป อีกทั้งยังช่วยให้การติดตั้งหลังคาสามารถดำเนินการได้ไว น้ำหนักเบา จึงช่วยลดต้นทุนค่าแรงก่อสร้างและค่าโครงสร้างบ้านได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบันแผ่นเมทัลชีทมีให้เลือกหลายรุ่น หลายเกรด การนำมาใช้ร่วมกับบ้านจึงจำเป็นต้องกำหนดสเปคให้เหมาะสมแต่ละส่วนของบ้าน เพื่อให้เกิดการใช้งานที่สอดคล้องกับการอยู่อาศัย

1. ความหนาของเมทัลชีท มีผลกับคุณภาพ

แผ่นเหล็กเมทัลชีทที่มีขายในประเทศไทย จะมีความหนาประมาณ 0.28 – 0.5 mm โดยประมาณ ซึ่งความหนาจะมีผลกับความแข็งแรง ยิ่งหนา ยิ่งดี แต่ไม่ควรใช้หนาเกินความจำเป็น เพราะช่างและผู้รับเหมาจะไม่สามารถหาสินค้าได้และทำงานลำบาก เพราะแผ่นเมทัลชีทที่มีความหนาจะป้องกันการบุบยุบตัวได้มากกว่าแผ่นบาง และป้องกันเสียงจากฝนตกจะเสียงทุ้มกว่าแผ่นบางครับ โดยความหนาที่แนะนำสำหรับหลังคาหลักของบ้าน ควรหนาประมาณ 0.35 mm ขึ้นไป แต่หากเป็นสเปคที่สถาปนิกนิยมเลือกใช้ร่วมกับบ้านที่เน้นการออกแบบเป็นพิเศษ จะเลือกความหนาที่ 0.47 mm ขึ้นไปครับ
ส่วนจุดอื่น ๆ เช่น หลังคาซักล้าง หลังคาครัวไทย หลังคาโรงจอดรถ เป็นส่วนที่ไม่มีผลกระทบกับการอยู่อาศัยภายในบ้านมากนัก อาจเลือกรุ่นที่มีความหนา 0.3 mm ขึ้นไปเพื่อการลดต้นทุนได้ครับ ทั้งนี้ ความหนาของเมทัลชีทจะมีผลกับระยะแปหลังคา ยิ่งหนามากจะสามารถจัดวางแปในระยะห่างที่มากขึ้นได้ ช่างจึงควรตรวจเช็คความหนาของแผ่นเมทัลชีทให้มีความสัมพันธ์กับระยะแปหลังคา

2. เมทัลชีทเคลือบสี ช่วยให้บ้านเย็น ลดเสียงรบกวน

แผ่นเมทัลชีทที่ยังไม่ผ่านการเคลือบสีจะมีราคาถูกกว่า เหมาะกับการใช้งานอเนกประสงค์ อาทิ รั้วกั้นพื้นที่, หลังคาส่วนต่อเติม แต่หากนำมาใช้ร่วมกับหลังคาหลักของบ้าน แนะนำให้ควรเลือกชนิดที่ผ่านการเคลือบสีแล้ว เพราะสีที่เคลือบไม่ได้ช่วยแค่เรื่องความสวยงามแต่ยังเป็นแผ่นกันความร้อนหลังคาได้ดี โดยนวัตกรรมสียุคปัจจุบันมีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน ส่งผลให้ปริมาณความร้อนที่ทะลุผ่านหลังคาเมทัลชีทลดลงอย่างเห็นได้ชัดทำให้อุณหภูมิของบ้านเย็นกว่า สามารถประหยัดไฟจากเครื่องปรับอากาศได้

3. ฉนวนกันความร้อน เพื่อนแท้ของเมทัลชีท

ข้อแนะนำเพิ่มเติมในการใช้เมทัลชีท คือ การติดตั้งเมทัลชีทโดยมีฉนวนกันความร้อน เพราะจะช่วยลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้านได้ดีขึ้น ปัจจุบันฉนวนกันความร้อนมีให้เลือกทั้งแบบสำเร็จรูปติดตั้งมาให้พร้อมกับแผ่นเมทัลชีท, แบบพ่นโฟม PU, แบบแผ่นวางใต้ฝ้าเพดาน หรือจะเลือกทำหลายอย่างพร้อมกันก็สามารถทำได้ครับ การติดตั้งฉนวนกันความร้อนไม่เพียงแค่ช่วยให้การอยู่อาศัยเย็นสบายขึ้น แต่ตัวฉนวนยังทำหน้าที่ป้องกันเสียงรบกวนได้ดีอีกด้วย ลดทั้งความร้อน ลดทั้งเสียงรบกวน คุ้มยิ่งกว่าคุ้มครับ

ผู้เขียนไม่ขอฟันธงว่า ควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนในรูปแบบไหนดีกว่ากัน เพราะแต่ละแบบอาจขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่น ๆ เพิ่มเติม ทั้งเกรดวัสดุ คุณภาพ ราคา แต่ขอแนะนำวิธีการเลือกซื้อตามค่าคุณสมบัติต่าง ๆ 2 ตัวหลัก ที่จะมีระบุไว้ชัดเจน โดยให้จำไว้ง่าย ๆ ว่า ค่า R ยิ่งมากยิ่งดี ค่า K ยิ่งน้อยยิ่งดี

วิธีการเลือกซื้อฉนวนกันความร้อนกับเมทัลชีทตามค่าคุณสมบัติ

  1. ค่า R (Resistivity): ค่าความต้านทานความร้อนของฉนวน ยิ่งต้านทานได้มากจะยิ่งดี นั่นหมายถึง ยิ่งตัวเลขมาก ยิ่งดีครับ
  2. ค่า K (K-value): ค่านำความร้อน ยิ่งนำความร้อนไดี ยิ่งส่งผลให้บ้านร้อนมาก เพราะฉะนั้นค่า K ควรมีน้อย ๆ ยิ่งตัวเลขน้อย ยิ่งดี

แผ่นฉนวนที่ติดมากับเมทัลชีทเดิมหลุด ทำอย่างไร

ปัญหาแผ่นฉนวนโฟม PU ที่ติดมาพร้อมกับเมทัลชีทหลุดมักเกิดขึ้นกับแผ่นเมทัลชีทด้อยคุณภาพ แต่หากเป็นแผ่น metal sheet คุณภาพสูงจะไม่ค่อยพบเจอปัญหานี้ โดยสาเหตุหลัก ๆ เกิดขึ้นจากกาวที่ติดฉนวนเสื่อมการใช้งาน หากเริ่มหลุดล่อนไม่มากนัก สามารถซื้อกาวที่ใช้สำหรับติดฉนวน PU มาซ่อมแซมได้ครับ หลังจากซ่อมแซมแล้วอาจติดตั้งแผ่นฝ้าไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้หลุดมากกว่าเดิม
แต่หากการหลุดล่อนเกิดขึ้นมาก จนยากที่จะใช้ของเดิมได้ ให้ทำการกำจัดฉนวนเดิมออกให้หมด และใช้ฉนวนกันร้อนแบบฉีดพ่นแทน การฉีดพ่นจะยึดติดได้ดีกว่าแบบติดกาวมากครับ

ข้อดีของ แผ่นเมทัลชีท 

1) ก่อสร้างได้เร็วกว่า
เนื่องจากแผ่นของเมทัลชีทนั้นใหญ่กว่ากระเบื้องดินเผามาก และมีแผ่นใหญ่กว่า จึงใช้ระยะเวลามุงกระเบื้องน้อยกว่า หากก่อสร้างหลังคาด้วยเมทัลชีทจะเสร็จเร็วกว่ากระเบื้องดินเผามาก

2) น้ำหนักเบา ลดการรับน้ำหนักของเสาหรือคาน
หากบ้านมีพื้นที่หลังคาเยอะแล้วใช้หลังคาดินเผา จะต้องออกแบบโครงสร้างหลักรองรับน้ำหนักหลังคาสูง แต่หากใช้เมทัลชีทจะคำนวณน้ำหนักใช้น้อยกว่ากระเบื้องดินเผามาก จึงเหมาะสำหรับพวกบ้านน็อคดาวน์ และบ้านเหล็กกล่อง

3) ทำขอบยื่นออกมาได้ยาวมากกว่ากระเบื้องดินเผา
กระเบื้องดินเผามีข้อจำกัดมาก ทั้งขนาดและน้ำหนัก จึงทำส่วนที่ยื่นออกมาจากเชิงหลังคาได้น้อยกว่าแผ่นเมทัลชีท มีผลต่อระยะบังแดด และระยะสาดของน้ำฝนด้วย

4) ปัญหารั่วซึมน้อยกว่า
พบปัญหาการแตกน้อยกว่า ยกเว้นว่าจะเป็นรูจากการเกิดสนิม ในขณะเดียวกันกระเบื้องดินเผาหากมีเศษวัสดุน้ำหนักเยอะมากระแทกจะแตกทำให้น้ำเข้าเวลาฝนตกได้ง่าย หากช่างมีฝีมือจะรู้เทคนิคการปูเมทัลชีทเชื่อมกับโครงหลังคาเหล็ก ลดปัญหารั่วซึมได้มากกว่ากระเบื้องดินเผา

5) มีสีให้เลือกมาก
มีสีสันให้เลือกหลากสี นอกจากหลังคาบ้านแล้ว ยังใช้ทำกันสาดบังฝน หรือมุงครอบเป็นรางกันน้ำฝนเล็กๆ น้อยๆ ได้สวยงาม เพราะใช้สีเคลือบหลากหลาย

แผ่นเมทัลชีท เหมาะกับงานแบบไหน?

อย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นว่า แผ่นเมทัลชีท ไม่ได้มีไว้ทำหลังคาเพียงอย่างเดียว จะใช้กับงานบุผนัง หรือส่วนอื่น ๆ ของบ้านก็ได้ เพราะเมทัลชีท 1 แผ่น มีอายุได้นานกว่า 20 ปี ส่วนเรื่องสีลอก และความทนทานขึ้นอยู่กับการใช้งาน และสภาพอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่ผ่านการทาสีเคลือบป้องกันสนิมมาบ้างแล้ว และบางยี่ห้อมีรับประกันถึง 20 ปีกันเลยทีเดียว ส่วนการติดตั้งก็ไม่ยากมาก สามารถเชื่อมกันโดนลดโอกาสน้ำซึมได้สูง

นอกจากส่วนของงานหลังคา สามารถใช้เมทัลชีทเป็นฉากกั้นระหว่างพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ทั้งแบบตกแต่งถาวรและชั่วคราว ซึ่งต้องเลือกแบบลอนน้อย ๆ เข้าไว้ หรือจะตัดเมทัลชีททำกันสาด ก็ถือว่าสะดวกและเป็นการใช้งานอย่างอเนกประสงค์ ติดตั้งง่าย และดัดเป็นมุมโค้งได้ด้วย (ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่วัสดุอื่นยังทำได้ไม่ดีเท่า รวมถึงราคาอยู่ในระดับกลาง ๆ ยอมรับได้ทุกงาน)

ส่วนเรื่อง “แผ่นเมทัลชีท” กันความร้อนมากหรือน้อยกว่ากระเบื้องมุงหลังคาปกตินั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ในบ้านด้วย หากใช้หลังคาเมทัลชีทที่บุฉนวนกันความร้อน กับทำฝ้าเมื่อใช้กระเบื้องดินเผา ก็อาจจะไม่แตกต่างกันมาก เพราะองศาการโดนแดด และ การสะท้อนรังสีความร้อนขึ้นอยู่กับที่ตั้งของบ้านด้วย

หากคุณมีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์จระเข้กับงานเมทัลชีท สามารถสอบถามกับเจ้าหน้าที่ให้บริการข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ที่ 087-902-1515

เมทัลชีทลอนผนัง-ลอนฝ้า

เมทัลชีทลอนผนัง-ลอนฝ้า

฿0.10

หลังคาเมทัลชีท เคลือบสี

แผ่นเมทัลชีท สีขาวมุก

฿0.10

หลังคาเมทัลชีท เคลือบสี

แผ่นเมทัลชีท สีครีม

฿0.10

หลังคาเมทัลชีท เคลือบสี

แผ่นเมทัลชีท สีดำ

฿0.10

หลังคาเมทัลชีท เคลือบสี

แผ่นเมทัลชีท สีน้ำตาล

฿0.10

หลังคาเมทัลชีท เคลือบสี

แผ่นเมทัลชีท สีน้ำเงิน

฿0.10

หลังคาเมทัลชีท เคลือบสี

แผ่นเมทัลชีท สีส้มโชกุน

฿0.10

หลังคาเมทัลชีท เคลือบสี

แผ่นเมทัลชีท สีเหลือง

฿0.10

หลังคาเมทัลชีท เคลือบสี

แผ่นเมทัลชีท สีแดงอิฐ

฿0.10

หลังคาเมทัลชีท สีอลูซิงค์

แผ่นเมทัลชีท หนา 0.20 สีอะลูซิงค์

฿0.10

หลังคาเมทัลชีท สีอลูซิงค์

แผ่นเมทัลชีท หนา 0.23 สีอะลูซิงค์

฿0.10

หลังคาเมทัลชีท สีอลูซิงค์

แผ่นเมทัลชีท หนา 0.28 สีอะลูซิงค์

฿0.10
Call Now Button