Category Archives: ตำบลคลองตัน

ตำบลคลองตัน

ตำบลคลองตัน   is position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by address the keyword name in category.

ตำบลคลองตัน  เป็นตำบลๆหนึ่งอยู่ใน  12 ตำบล อำเภอบ้านแพ้ว

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

อำเภอบ้านแพ้ว
แผนที่จังหวัดสมุทรสาคร เน้นอำเภอบ้านแพ้ว
คำขวัญ: แดนดินกลิ่นดอกส้ม ดงองุ่นหวาน น้ำตาลบริสุทธิ์ สุดสวยด้วยกล้วยไม้ หลากหลายไม้ผลนานาพันธุ์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°35′26″N 100°6′28″E
อักษรไทย อำเภอบ้านแพ้ว
อักษรโรมัน Amphoe Ban Phaeo
จังหวัด สมุทรสาคร
พื้นที่
 • ทั้งหมด 245.031 ตร.กม. (94.607 ตร.ไมล์)
ประชากร (2562)
 • ทั้งหมด 100,373
 • ความหนาแน่น 409.63 คน/ตร.กม. (1,060.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 74120, 70210 (เฉพาะ
เลขที่ 1-36 หมู่ที่ 4 ตำบลโรงเข้,
เลขที่ 1-26 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองสองห้อง)
รหัสภูมิศาสตร์ 7403
ที่อยู่
ที่ว่าการ
ที่ว่าการอำเภอบ้านแพ้ว หมู่ที่ 1
ริมคลองดำเนินสะดวก ตำบลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร 74120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอบ้านแพ้ว เป็นอำเภอหนึ่งในสามของจังหวัดสมุทรสาคร ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบริมฝั่งคลองดำเนินสะดวกที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง ประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้วมีหลายกลุ่มชน ซึ่งกลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ เชื้อชาติไทย เชื้อชาติรามัญ เชื้อชาติจีน และเชื้อชาติลาว ส่วนใหญ่จะนับถือพุทธศาสนา ซึ่งเป็นพื้นฐานของจารีตประเพณีและวัฒนธรรมในลักษณะผสมผสาน ทั้งหมดดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขด้วยการประกอบอาชีพ ทำนาข้าว ทำสวนผลไม้ ทำสวนกล้วยไม้ ทำสวนพืชผักนาชนิด และเลี้ยงปลา (ปลาช่อนและปลาสลิด) เลี้ยงกุ้ง ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญของอำเภอ ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอม มะม่วง มะนาว องุ่น ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร เป็นต้น

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอบ้านแพ้วมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ที่มาของชื่ออำเภอ[แก้]

คำว่า “บ้านแพ้ว” มีที่มาจากสัญลักษณ์ของคนยุคก่อนในสมัยที่พื้นที่อำเภอบ้านแพ้วมีสภาพเป็นป่าทึบชายทะเล อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่า ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ และไม้นานาชนิด ทำให้มีผู้คนบริเวณใกล้เคียงเดินทางเข้ามาล่าสัตว์และแสวงหาผลิตผลจากป่าเพื่อดำรงชีวิต ด้วยเหตุที่พื้นที่ดังกล่าวมีบริเวณกว้างและมีลำธารธรรมชาติมาก ที่สำคัญได้แก่บริเวณคลองหมู่ทอดและคลองแพ้ว จึงกลายเป็นแหล่งนัดพบของประชาชน ซึ่งจะหาไม้ไผ่หรือต้นไม้สูงแล้วนำผ้าไปผูกไว้ (เรียกว่า แพ้วธง) เพื่อป้องกันการหลงทางและเป็นจุดนัดพบ จนกระทั่งประชาชนอพยพมาอาศัยอยู่ในพื้นที่มากขึ้นจึงเรียกชื่อชุมชนว่า “หมู่บ้านแพ้ว”

ประวัติศาสตร์[แก้]

  • วันที่ 10 ตุลาคม 2468 ตั้งอำเภอบ้านแพ้ว โดยนำตำบลดอนไผ่ ตำบลบ้านแพ้ว ตำบลเจ็ดริ้ว ตำบลคลองตัน จากอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ตำบลอำแพง อำเภอเมืองสมุทรสาคร ตำบลดำเนินสะดวก (ตำบลสวนส้ม) อำเภอกระทุ่มแบน รวมเข้ากับตำบลหลักสามและตำบลโรงเข้ของอำเภอบ้านบ่อ (อำเภอเมืองสมุทรสาคร)
  • วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรสาครได้ถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอบ้านแพ้วจึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี
  • วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรสาครขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้อำเภอบ้านแพ้วกลับมาขึ้นกับจังหวัดสมุทรสาครเหมือนเดิม[1]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านแพ้ว ในท้องที่บางส่วนของตำบลบ้านแพ้ว และตำบลหลักสาม[2]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลหลักห้า ในท้องที่ตำบลดอนไผ่ ตำบลโรงเข้ และตำบลหลักห้าหรือตำบลหนองสองห้อง[3]
  • วันที 16 พฤศจิกายน 2501 ตั้งตำบลยกกระบัตร โดยแยกออกจากตำบลโรงเข้และตำบลหลักสาม[4]
  • วันที่ 29 ตุลาคม 2511 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลดำเนินสะดวก อำเภอบ้านแพ้ว เป็น ตำบลสวนส้ม[5]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2517 ตั้งตำบลหนองบัว โดยแยกออกจากตำบลหนองสองห้อง[6]
  • วันที่ 16 กรกฎาคม 2519 ตั้งตำบลหลักสอง โดยแยกออกจากตำบลเจ็ดริ้ว[7]
  • วันที่ 15 มิถุนายน 2525 ตั้งตำบลเกษตรพัฒนา โดยแยกออกจากตำบลคลองตัน[8]
  • วันที่ 20 มกราคม 2537 จัดตั้งสุขาภิบาลเกษตรพัฒนา ในท้องที่ตำบลเกษตรพัฒนาและตำบลคลองตัน[9]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลบ้านแพ้ว สุขาภิบาลเกษตรพัฒนา และสุขาภิบาลหลักห้า เป็นเทศบาลตำบลบ้านแพ้ว เทศบาลตำบลเกษตรพัฒนา และเทศบาลตำบลหลักห้าตามลำดับ

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบ้านแพ้วแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 ตำบล 97 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บ้านแพ้ว (Ban Phaeo) 7. หลักสอง (Lak Song)
2. หลักสาม (Lak Sam) 8. เจ็ดริ้ว (Chet Rio)
3. ยกกระบัตร (Yokkrabat) 9. คลองตัน (Khlong Tan)
4. โรงเข้ (Rong Khe) 10. อำแพง (Amphaeng)
5. หนองสองห้อง (Nong Song Hong) 11. สวนส้ม (Suan Som)
6. หนองบัว (Nong Bua) 12. เกษตรพัฒนา (Kaset Phatthana)

Map of Tambon

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบ้านแพ้วประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลบ้านแพ้ว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านแพ้วและตำบลหลักสาม
  • เทศบาลตำบลเกษตรพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกษตรพัฒนาทั้งตำบลและบางส่วนของตำบลคลองตัน
  • เทศบาลตำบลหลักห้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยกกระบัตร ตำบลโรงเข้ ตำบลหนองสองห้อง และตำบลหนองบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแพ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแพ้ว (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านแพ้ว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลักสาม (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านแพ้ว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลักสองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเจ็ดริ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเจ็ดริ้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองตัน (นอกเขตเทศบาลตำบลเกษตรพัฒนา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอำแพง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอำแพงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสวนส้ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนส้มทั้งตำบล

ประชากร[แก้]

ชื่อ ปีที่จัดตั้ง พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2562)
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2562)
เทศบาลตำบลบ้านแพ้ว 2542
0.76
3,242
4,265.78
1,050
เทศบาลตำบลเกษตรพัฒนา 2542
18.4
5,178
281.41
1,532
เทศบาลตำบลหลักห้า 2542
125.57
41,958
334.14
10,139
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแพ้ว ?
20.01
9,293
464.41
2,673
องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสาม 2538
32.23
14,793
458.98
5,265
องค์การบริหารส่วนตำบลหลักสอง ?
14.61
4,597
314.64
1,151
องค์การบริหารส่วนตำบลเจ็ดริ้ว ?
12
4,006
333.83
995
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองตัน 2540
14.54
5,167
355.36
1,536
องค์การบริหารส่วนตำบลอำแพง ?
22.51
6,946
308.57
1,946
องค์การบริหารส่วนตำบลสวนส้ม 2540
19.51
5,193
266.17
1,618
ทั้งหมด 245.031 100,373 409.63 27,905

การศึกษา[แก้]

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน[แก้]

สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร[แก้]

  • โรงเรียนวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา[แก้]

  • วิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว

การสาธารณสุข[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1.  “พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา63 (29 ก): 315–317. 9 พฤษภาคม 2489.
  2.  “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา72 (พิเศษ 74 ง): 121–122. 17 กันยายน 2498.
  3.  “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลหลักห้า อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา73 (พิเศษ 60 ง): 32–33. 3 สิงหาคม 2499.
  4.  “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอวาปีปทุม และอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี อำเภอพิชัย จังหวัดอุตตรดิตถ์ กับอำเภอวารินชำราบ อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอพิบูลมังษาหาร อำเภอเขื่องใน และอำเภอยะโสธร จังหวัดอุบลราชธานี” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา75 (107 ง): 3038–3051. 16 ธันวาคม 2501.
  5.  [1]พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๕๑๑
  6.  “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา91 (พิเศษ 116 ง): 11–13. 5 กรกฎาคม 2517.
  7.  “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา93 (101 ง): 2033–2036. 10 สิงหาคม 2519.
  8.  “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา99 (99 ง): 2919–2922. 20 กรกฎาคม 2525.
  9.  “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเกษตรพัฒนา อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร” (PDF)ราชกิจจานุเบกษา111 (36 ง): 19–20. 5 พฤษภาคม 2537.
Call Now Button