Category Archives: การเคหะแห่งชาติ

การเคหะแห่งชาติ

การเคหะแห่งชาติ is a position for activity in post to be presented at the 1st  rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.

สืบเนื่องจากปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทย ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลจึงได้จัดตั้งกองเคหสถาน กรมประชาสงเคราะห์ ขึ้นในปี พ.ศ. 2483 หลังจากเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปี พ.ศ. 2504 ปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยทวีความรุนแรงขึ้น รัฐบาลจึงได้จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม ได้แก่ สำนักงานอาคารสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ (ในปี พ.ศ. 2493) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ในปี พ.ศ. 2496) และสำนักงานปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมเทศบาลนครกรุงเทพ (ปี พ.ศ. 2503) จนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 จึงมีการกำหนดนโยบายให้จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านที่อยู่อาศัยขึ้น และได้จัดตั้ง “การเคหะแห่งชาติ” ขึ้นเมื่อ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ภายใต้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 [3] โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. จัดให้มีเคหะเพื่อประชาชน เช่า หรือเช่าซื้อ
  2. จัดหาเงินกู้มาสร้างที่อยู่อาศัยให้ประชาชนเช่าซื้อหรือให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่บุคคลที่จะสร้างที่อยู่อาศัย
  3. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารหรือจัดสรรที่ดิน

ต่อมาในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ที่ให้อำนาจการเคหะแห่งชาติออกพันธบัตรหรือตราสารการลงทุนได้ [4]

ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2522 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ฉบับที่ 2 ที่ได้ให้อำนาจการเคหะแห่งชาติเวนคืนที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อดำเนินการปรับปรุงหรือรื้อถอนแหล่งเสื่อมโทรมได้ [5]

ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรและได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้และคณะกรรมาธิการได้นำเข้าสู่ที่ประชุมสภาในวาระที่ 2 และ 3 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 แต่ที่ประชุมสภาไม่เห็นชอบร่างทำให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นอันตกไป [6]

และต่อมาในปีพ.ศ. 2537 ได้มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งใหม่ตามพระราชบัญญัติ การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2537 [7] ดังนี้

  1. จัดให้มีเคหะเพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย
  2. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนผู้ประสงค์จะมีเคหะของตนเอง หรือแก่บุคคลผู้ประสงค์ จะร่วมดำเนินกิจการกับ กคช.ในการจัดให้มีเคหะขึ้น เพื่อให้ประชาชนเช่า เช่าซื้อหรือซื้อ
  3. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารหรือจัดหาที่ดิน
  4. ปรับปรุงรื้อหรือย้ายแหล่งเสื่อมโทรมเพื่อให้มีสภาพการอยู่อาศัยสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น
  5. ประกอบธุรกิจการอื่นที่สนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น

ผลการดำเนินงาน[แก้]

นับแต่ปี พ.ศ. 2516 ถึงปี พ.ศ. 2553 การเคหะแห่งชาติ ได้ดำเนินงานพัฒนาและจัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนทุกระดับรายได้โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยได้ รวมทั้งสิ้นจำนวน 732,249 หน่วย

โครงการบ้านเอื้ออาทร[แก้]

เป็นโครงการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัย และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ด้อยโอกาสให้ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเป็นที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานและอยู่ในชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีระดับราคาที่กลุ่มเป้าหมายสามารถรับภาระการผ่อนชำระได้ โดยกำหนดที่จะจัดทำที่อยู่อาศัยให้สำหรับกลุ่มป้าหมายกลุ่มเดียวคือกลุ่มที่มีรายได้ครัวเรือนไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท (รายได้ปี 2546) และปรับเป็นรายได้ครัวเรือนไม่เกินเดือนละ 40,000 บาท ในปัจจุบัน มีเป้าหมายดำเนินการทั้งสิ้น 281,556 หน่วย ซึ่งในปี 2553 ก่อสร้างแล้วเสร็จ 240,186 หน่วย ส่งมอบให้กับผู้ได้สิทธิแล้ว 174,545 หน่วย

เขตบางกะปิ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออก (ตอนใต้)

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตบางกะปิตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ประวัติ[แก้]

พื้นที่บริเวณเขตบางกะปิในอดีตเป็นป่าทึบ มีชื่อเรียกว่า บางกบี่[2] ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบาง จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพไปปราบจนสำเร็จ และได้กวาดต้อนผู้คนตามหัวเมืองรายทางมาตั้งถิ่นฐานบริเวณริมคลองแสนแสบและคลองกุ่ม

เมื่อมีผู้คนหนาแน่นมากขึ้น จึงได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอบางกะปิ ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระนคร ซึ่งในปี พ.ศ. 2509 ทางราชการได้แบ่งพื้นที่ตำบลบางกะปิและตำบลห้วยขวางไปจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท

ในช่วงปี พ.ศ. 25142515 มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองภูมิภาคไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี กล่าวคือ รวมจังหวัดทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่เป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางกะปิจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตบางกะปิ แบ่งออกเป็น 9 แขวง (ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้โอนแขวงสามเสนนอกไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง)

เนื่องจากมีอาณาเขตกว้างขวาง และต่อมามีประชากรเพิ่มขึ้น ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต เพื่อสะดวกแก่การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงแบ่งพื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่ม ในปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2540 ก็ได้รวมพื้นที่แขวงวังทองหลางและบางส่วนของแขวงคลองจั่นไปจัดตั้งเป็นเขตวังทองหลาง

โดยที่มาของชื่อ “บางกะปิ” นั้น มีข้อสันนิษฐานมากมาย ตั้งแต่คำว่า “กบิ” หรือ “กบี่” ที่หมายถึง ลิง เพราะพื้นที่แถบนี้ในอดีตเคยเป็นป่าทึบ มีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (ซึ่งสัญลักษณ์ของเขตก็เป็นรูปหนุมานด้วย)[2] หรือมาจาก “กะปิ” ซึ่งเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพราะพื้นที่นี้แต่เดิมอุดมสมบูรณ์ด้วยกุ้งเล็ก ๆ มากมาย ประชาชนจึงนิยมนำมาทำกะปิกันมาก

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ปัจจุบันเขตบางกะปิมีหน่วยการปกครองย่อย 2 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2561)
คลองจั่น Khlong Chan
12.062
79,048
47,720
6,553.47
หัวหมาก Hua Mak
16.461
67,793
56,514
4,118.40
ทั้งหมด
28.523
146,841
104,234
5,148.16

โดยมีคลองแสนแสบฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างสองแขวงดังกล่าว

ประชากร[แก้]

สถานที่สำคัญ[แก้]

การคมนาคม[แก้]

ทางสายหลัก
ทางสายรองและทางลัด
  • ถนนแฮปปี้แลนด์
  • ถนนกรุงเทพกรีฑา
  • ถนนหัวหมาก
  • ถนนโพธิ์แก้ว
  • ถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง)
  • ซอยรามคำแหง 21 (นวศรี)
  • ซอยรามคำแหง 24
ทางน้ำ
  • คลองแสนแสบ
  • คลองลาดพร้าว
Call Now Button