Category Archives: ถนนเลียบคลองประปา

ถนนเลียบคลองประปา

 

ถนนเลียบคลองประปา is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search  by address the focus keyword name in category.

ถนนประชาชื่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ถนนเลียบคลองประปา)

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

ถนนประชาชื่น (อักษรโรมันThanon Pracha Chuen) เป็นถนนที่สร้างเลียบฝั่งตะวันตกของคลองประปาในเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานครอำเภอเมืองนนทบุรี และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยส่วนที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและส่วนที่ต่อจากเขตกรุงเทพมหานครจนถึงแยกคลองประปา ดูแลโดยสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร

คลองประปา เป็นคลองขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยทรงเห็นว่าในขณะนั้นประชาชนทั่วไปยังคงใช้น้ำที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง น้ำทะเลจะเข้าถึงแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ดำเนินการโดยเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ผู้บัญชาการกรมสุขาภิบาล ในระยะแรกได้กั้นแม่น้ำน้อย หรือคลองเชียงรากในปัจจุบันกักน้ำไว้ เรียกว่าคลองขัง แล้วขุดคลองจากแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดสำแลที่น้ำทะเลขึ้นไปไม่ถึง เข้ามาที่คลองขัง จากนั้นจึงขุดคลองอ้อมไปออกคลองบ้านพร้าวให้เรือสัญจรได้ ขุดคลองบางหลวงหัวป่า และคลองบางสิงห์ ไปเชื่อมกับคลองระพีพัฒน์และคลองเปรมประชากร รับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาที่คลองขัง [1] คลองขังมีความยาวยาว 8 กิโลเมตร กว้าง 60–100 เมตร ลึกตั้งแต่ 2–6 เมตร ใช้ผลิตน้ำประปาในตอนเริ่มแรก

ในระยะต่อมาได้ขุดคลองประปาจากตำบลบางพูนมายังโรงกรองสามเสน มีเขื่อนกั้นจากสามเสนถึงโรงกรองน้ำบางเขน ปลายคลองประตูน้ำกั้นไม่ให้น้ำที่ไม่สะอาดไหลเข้าคลองได้ และเวลาน้ำในคลองสามเสนลดลงประตูน้ำจะเปิดให้น้ำไหลลงคลองสามเสน ตลอดแนวคลองประปามีที่ทำการเจ้าหน้าที่รักษาคลอง 7 แห่ง ที่ตำบลสำแล เชียงราก รังสิต สีกัน บางเขน บางซื่อ และสามเสน เพื่อรักษาคลอง ขุดแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2456 [2] มีพระราชบัญญัติเรื่องคลองประปาในปี พ.ศ. 2456 และฉบับใหม่ในปี พ.ศ. 2526[3]

ในปัจจุบันคลองประปายังถูกใช้ผลิตน้ำประปาเช่นเดิม ตัวคลองเริ่มต้นจากแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ไหลไปเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับกรุงเทพมหานครตั้งแต่คลองบ้านใหม่จนถึงคลองบางเขน จากนั้นไหลเข้าสู่เขตจตุจักร เขตบางซื่อ และเขตดุสิต จนไปจรดกับคลองสามเสนที่เขตพญาไท มีความยาว 25 กิโลเมตร กว้าง 14 เมตร และลึกประมาณ 3 เมตร

เขตดอนเมือง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่น โดยมีแหล่งสถาบันราชการอยู่ทางด้านตะวันออกของพื้นที่ เขตดอนเมืองมีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 11 ของกรุงเทพมหานคร

Call Now Button