Category Archives: สวนสยาม

สวนสยาม

 

สวนสยาม is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search  by address the focus keyword name in category.

 

สยามอะเมซิ่งพาร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สวนสยาม)

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

ระวังสับสนกับ สยามปาร์ค สวนน้ำที่เกาะเตเนริเฟ

สไลเดอร์ขนาดใหญ่ของสยามอะเมซิ่งพาร์ค

สยามอะเมซิ่งพาร์ค (อังกฤษSiam Amazing Park, ชื่อเดิม: สวนสยาม) เป็นสวนสนุกและสวนน้ำ ตั้งอยู่ที่ถนนสวนสยาม แขวงคันนายาว เขตคันนายาว บนเนื้อที่ 300 ไร่ มีจุดเด่นที่ภายในโครงการมีทะเลเทียมขนาดใหญ่ อันเป็นที่มาของฉายาว่า “ทะเลกรุงเทพ” โดยทะเลเทียมแห่งนี้เป็นทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยการรับรองของบันทึกสถิติโลกกินเนสส์

สยามอะเมซิ่งพาร์ค ในชื่อเดิมคือสวนสยามเปิดดำเนินการมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 2523 ดำเนินงานโดย บริษัท อมรพันธ์นคร-สวนสยาม จำกัด โดย นายไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ เป็น ประธานกรรมการ แรกเริ่มมีเพียงสวนน้ำภายหลังจึงได้ซื้อเครื่องเล่นเดิมจากสวนสนุกแฮปปี้แลนด์ที่ได้ปิดกิจการมาให้เปิดบริการ สวนสยามจึงเป็นทั้งสวนน้ำและสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีรางน้ำวน สปา พร้อมเครื่องเล่นทางน้ำครบครัน สไลเดอร์ที่สูงเท่ากับตึก 7 ชั้น ซูเปอร์สไปรัลรางน้ำคดเคี้ยว รถไฟเหาะวอร์เท็กซ์ รถไฟเหาะบูมเมอแรง และเครื่องเล่นอื่นๆอีกเกือบ 40 ชนิด

ภายในสยามอะเมซิ่งพาร์ค[แก้]

ประกอบด้วย 6 ส่วนคือ

  1. สวนน้ำ Water World ประกอบด้วย ไซแอมลากูน ทะเลน้ำจืด สไลเดอร์ยักษ์ ซูเปอร์สไปรัล ธารน้ำวน สปา
  2. สวนสนุก มี 4 ส่วนคือ Extreme World, Small World, Adventure World, และ Family World มีเครื่องเล่นเกือบ 40 ชนิด อาทิ Vortex, Boomerang, Giant Drop, Ranger, และ Condor
  3. สวนสาระ เช่น พิพิธภัณฑ์ไดโนโธเปีย ผจญภัยแดนไดโนเสาร์
  4. สัมมนาจัดเลี้ยง เป็นสถานที่รับรองสำหรับการประชุมหรืองานกิจกรรมต่าง ๆ
  5. ค่ายพักแรม สำหรับกิจกรรมการเข้าค่ายลูกเสือ มีฐานต่าง ๆ ห้องพักแบบเชลเตอร์และเรือนนอน 48 หลัง มีพัดลมปรับอากาศ ห้องน้ำในตัว
  6. สถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บางกอก เวิลด์ (โครงการจะแล้วเสร็จปี 2564) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยการนำสถาปัตยกรรมของกรุงรัตนโกสินทร์มาปรับใช้ เช่น ศาลาเฉลิมไทย ศาลาเฉลิมกรุง ห้างแบดแมนแอนด์โก ห้างบี.กริมแอนด์โก เยาวราชไชน่าทาวน์

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

พ.ศ. 2528 เคยใช้เป็นสถานที่จัดการประกวดนางสาวไทยรอบตัดสิน

พ.ศ. 2550 เกิดอุบัติเหตุกับเครื่องเล่น อินเดียน่าล็อก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ทำให้มีผู้เสียชีวิต และ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2551 เกิดเหตุกับซูเปอร์สไปรัล ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 28 ราย ทางเจ้าของจึงประกาศขายกิจการแต่มีหลายฝ่ายให้กำลังใจและขอร้องอย่าขายเจ้าของจึงตัดสินใจบริหาร สวนสยามต่อไป[1]

พ.ศ. 2552 เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552 ที่สยามพาร์คซิตี้ สวนสยาม กินเนสส์ เวิลด์ เร็คคอร์ด ร่วมกับสมาคมสวนน้ำโลก มอบรางวัลหนังสือรับรอง “ทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก” ให้แก่ ทะเล-กรุงเทพฯ สวนสยาม โดยมีนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธานรับมอบ นายไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ที่ปรึกษาบริษัท สยามพาร์คซิตี้ จำกัด กล่าวว่า ดีใจที่สุด 29 ปีที่ผ่านมาหายเหนื่อยแล้ว ด้านนายทาลาล โอมาร์ ผู้แทนจากกินเนสส์ เวิลด์ เร็คคอร์ด กล่าวว่า แต่ละสัปดาห์มีผู้เสนอเรื่องราวให้บันทึกสถิติโลกถึง 1 พันรายการ รางวัลนี้เป็นแนวความคิดสร้างสรรค์ที่ทะเลเทียมของไทยใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้ ทะเล-กรุงเทพฯ สวนสยาม มีขนาด 13,600 ตร.ม. รองรับผู้ใช้บริการได้พร้อมกัน 13,000 คน ส่วนเจ้าของสถิติทะเลเทียมที่ใหญ่ที่สุดในโลกเดิมคือ ดีโน่ พาร์ค นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีขนาด 6,053 ตร.ม. รองลงมาคือ สวนน้ำดิสนีย์ เมืองออร์ลันโด ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ขนาด 4,220 ตร.ม.[2]

พ.ศ. 2553 วันที่ 19 พฤศจิกายน – 19 ธันวาคม 2553 สยามพาร์คซิตี้ สวนสยาม ได้ จัดงานฉลองครบรอบเปิดกิจการ 30 ปี จัดโปรโมชั่นพิเศษ ซื้อบัตร ครั้งเดียวเที่ยวฟรีตลอดวัน ผู้ใหญ่ 300 บาท เด็ก 100 บาท [3]นับว่าเป็นสวนสนุกและสวนน้ำที่มีอายุมากที่สุดในประเทศไทยที่เปิดดำเนินการอยู่จนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2562 สวนสยามประกาศปิดปรับปรุงใหญ่บางส่วน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อโครงการเป็น สยามอะเมซิ่งพาร์ค ภายใต้การบริหารของทายาทรุ่นที่สองคือ สิทธิศักดิ์ เหลืองอมรเลิศ, วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ และจิรวรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา โดยมีการปรับภาพลักษณ์ให้ดูทันสมัยและสดใสมากขึ้น มีการปรับปรุงเครื่องเล่นให้ใช้งานได้ตามปกติ ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรวมของโครงการ และก่อสร้างส่วนขยายบริเวณด้านหน้าโครงการ ภายใต้การควบคุมและดูแลของ Spikeband บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกที่เป็นผู้พัฒนาสวนสนุกโตเกียวดิสนีย์แลนด์ ที่ประเทศญี่ปุ่น[4] และยังเป็นการปรับปรุงเพื่อรองรับการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีชมพู และรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยการปรับปรุงจะแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2564 พร้อม ๆ กับการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีชมพู[5]

เขตคันนายาว Khan Na Yao District is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.

เขต คันนายาว – วิกิพีเดีย

สำนักงานเขตคันนายาว – กรุงเทพมหานคร

การติดต่อ – สำนักงานเขตคันนายาว – Google Sites

บริษัท เอ็มเค เมทัลชีท โปรดักส์ จำกัด

MK Metalsheet Products Company Limited

คันนายาว เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้ไขต้นฉบับ]

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ที่มาของชื่อเขต[แก้ไขต้นฉบับ]

ประมาณปี พ.ศ. 2386 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบคลองกุ่ม ต่อมามีผู้คนอพยพเข้าไปอยู่อาศัยในย่านนี้และย่านใกล้เคียงมากขึ้น พื้นที่บางส่วนกลายเป็นที่ทำนาผืนใหญ่[3] ในการทำนาก็จะมีการสร้างแนวดินให้พูนสูงขึ้นจากท้องนาเพื่อกั้นที่นาเป็นส่วน ๆ หรือเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับปลูกข้าว ซึ่งก็คือ “คันนา” มีที่นาอยู่ผืนหนึ่งใกล้กับคลองแสนแสบ กินอาณาเขตตั้งแต่ท้ายหมู่บ้านสุเหร่าแดง (ปัจจุบันคือบริเวณถนนเสรีไทย)[4] ไปสิ้นสุดตรงบริเวณที่เรียกว่า “โรงแดง” เพราะเป็นที่ตั้งของบ้านหลังหนึ่งที่มุงหลังคาสังกะสีเป็นสนิม มองเห็นเป็นสีแดงแต่ไกล (ปัจจุบันคือบริเวณถนนรามอินทรา) เรียกได้ว่าเป็นนาที่มีคันยาวมากที่สุด จึงสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อ “คันนายาว”[5][6]

ประวัติ[แก้ไขต้นฉบับ]

ตำบลคันนายาว ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยในปี พ.ศ. 2506 กระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลคันนายาวด้วย[7] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[9] ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลคันนายาวจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคันนายาว อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ

ด้วยเหตุที่เขตบางกะปิมีเนื้อที่กว้างขวางมากและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ โดยจัดตั้งเขตบึงกุ่ม ประกอบด้วยแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงแยกจากเขตบางกะปิ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กันยายนเป็นต้นไป[10] อย่างไรก็ตาม หลังจากแบ่งเขตใหม่แล้ว เขตบึงกุ่มยังคงมีท้องที่กว้างขวางและมีประชากรหนาแน่น ประกอบกับความเจริญทางด้านสาธารณูปโภคได้หลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยแยกแขวงคันนายาว รวมกับหมู่ที่ 3, 11 (บางส่วน) ของแขวงคลองกุ่ม และหมู่ที่ 1, 2, 9, 10 (บางส่วน) ของแขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว จัดตั้งเป็น เขตคันนายาว[11]

และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงคันนายาวเต็มพื้นที่เขตคันนายาวอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[12][13] ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตคันนายาวได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม[12] เขตสะพานสูง[12] เขตหลักสี่[14] เขตวังทองหลาง[15] และเขตคลองสามวา[16] โดยใช้พื้นที่ชั้นล่างของศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 7 แขวงคันนายาวเป็นที่ทำการ ต่อมาได้ย้ายมาตั้งสำนักงานเขตถาวรริมคลองครุ ในซอย 01 กาญจนาภิเษก 11/5 เมื่อช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2552[3]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้ไขต้นฉบับ]

วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคันนายาว และตั้งแขวงรามอินทรา เขตคันนายาว[17] โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตคันนายาวแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยใช้ถนนกาญจนาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2561)
คันนายาว Khan Na Yao
12.920
47,700
18,053
3,691.95
รามอินทรา Ram Inthra
13.060
49,487
26,181
3,789.20
ทั้งหมด
25.980
97,187
44,234
3,740.83

ประชากร[แก้ไขต้นฉบับ]

การคมนาคม[แก้ไขต้นฉบับ]

ในพื้นที่เขตคันนายาวมีทางสายหลัก ได้แก่

ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่

ทางน้ำมีคลองแสนแสบและคลองบางชัน ใช้สัญจร

สถานที่สำคัญ[แก้ไขต้นฉบับ]

Call Now Button