Category Archives: โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search  by address the focus keyword name in category.

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เป็นโรงพยาบาลของรัฐ  ตั้งอยู่เลขที่ 679 ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร แต่เดิมชื่อ โรงพยาบาลชานพระนคร ต่อมาได้พระกรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามว่า โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2525

 

ประวัติ[แก้]

นับแต่ก่อตั้ง “กรมการแพทย์” ในปี ๒๔๘๕ จนถึงปี ๒๕๑๐ “กรมการแพทย์”มีหน้าที่รับผิดชอบโรงพยาบาลของรัฐทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ทั้งโรงพยาบาลบำบัดโรคทั่วไปและโรงพยาบาลเฉพาะโรค รวมโรงพยาบาลในสังกัด”กรมการแพทย์”ทั้งสิ้นถึง ๑๐๒ แห่ง เป็นโรงพยาบาลในส่วนกลาง ๑๑ แห่ง สถาบัน ๒ แห่ง และโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค ๘๙ แห่ง

๒๕๑๐ ประชากรในเขตกรุงทพฯและปริมณฑลมีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก และโรงพยาบาลในส่วนกลางก็รับผู้ป่วยจนเต็มล้น ซึ่งหนังสือพิมพ์หลายฉบับก็ได้หยิบยกมาเป็นประเด็นปัญหาสังคมในขณะนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มอบหมายให้กรมการแพทย์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องโรงพยาบาลรับไปศึกษาปัญหาดังกล่าว

กรมการแพทย์ (นายแพทย์ประเทือง สิงคาลวณิช อธิบดีกรมการแพทย์ในขณะนั้น) จึงได้มอบหมายให้นายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว (อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในขณะนั้นทำงานอยู่ที่กองโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค) ทำการศึกษาวิจัยถึงแนวคิดเรื่องโรงพยาบาลชานพระนคร โดยมีนายแพทย์ รังสรรค์ มหาสันทนะ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคในขณะนั้น) เป็นที่ปรึกษาในการศึกษานี้ ผลการศึกษาสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว กรมการแพทย์จึงได้ตั้งคณะกรรมการโดยมีอธิบดีเป็นประธานพิจารณาผลการศึกษาวิจัย และเห็นสอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัย จึงได้ทำโครงการเสนอไปยังกระทรวงสาธารณสุข (ในขณะนั้น ผู้ที่ดำรงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คือ พระบำราศนราดูร) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากทั้งกระทรวง และ จากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ด้วยเหตุที่มีการขยายตัวของเมืองอย่างมากทางทิศตะวันออก มีประชากรในพื้นที่ถึง ๒ ล้านคน และมีโรงงานจำนวนมากถึง ๑,๐๐๐ แห่ง จึงเริ่มดำเนินการ “โครงการโรงพยาบาลชานพระนคร” ทางด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ (เขตบางกะปิ)

๒๕๑๕  สภาบริหารคณะปฏิวัติมีมติให้กรมการแพทย์ดำเนินการจ้างเอกชนดำเนินการออกแบบแปลนและก่อสร้าง นายแพทย์เชิด โทนะวณิก อธิบดีกรมการแพทย์ได้แต่งตั้งนายแพทย์สมศักดิ์ สืบแสง เป็นผู้ดำเนินการโครงการ

๒๕๑๖  กรมการแพทย์ (“กรมการแพทย์และอนามัย” ในขณะนั้น) ได้จัดซื้อที่ดินจำนวน ๒๘ ไร่ ๖๐ ตารางวา ด้วยงบประมาณ ๕ ล้าน ๕ แสนบาท เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๑๖ และได้รับบริจาคที่ดินจากผู้ขายที่ดินเดิมให้อีก ๓๑ ไร่ ๓๙ ตารางวา รวมเป็นพื้นที่ดินทั้งหมด ๕๙ ไร่ ๙๙ ตารางวา

๒๕๑๗  กรมการแพทย์ ได้รับการกำหนดบทบาทให้เป็นกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข ในด้านการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพ การก่อสร้างโรงพยาบาลดังกล่าวจึงถูกระงับชั่วคราว

๒๕๒๐ กรมการแพทย์ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลชานพระนคร (ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ) ขนาด ๖๕๐ เตียง โดยได้รับงบประมาณผูกพัน ๒๕๒๐ – ๒๕๒๒ วงเงิน ๓๓ ล้านบาท (โดยประมาณ) เพื่อก่อสร้างอาคารอำนวยการ ถมดิน และ ทำรั้วรอบโรงพยาบาล ต่อมาระหว่าง พศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๒๕ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรรัฐบาลเพื่อจัดสร้างอาคารอื่นๆ ที่เหลือ วงเงินรวมทั้งสิ้น ๓๑๗ ล้านบาท (โดยประมาณ)

วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๒๕  โรงพยาบาลเริ่มให้บริการผู้ป่วยนอก

วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ได้ทรงพระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า “โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี” ตามหนังสือของสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล. ๐๐๐๒/๓๐๘๑

วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๕ โรงพยาบาลได้เริ่มเปิดบริการผู้ป่วยใน

รายนามผู้อำนวยการโรงพยาบาล[แก้]

ลำดับ รายนามผู้อำนวยการ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 นายแพทย์สัมฤทธิ์ โปรา พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2531
2 นายแพทย์เสกสม สุวรรณกร พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2537
3 นายแพทย์ชาตรี บานชื่น พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2540
4 นายแพทย์ประสาท โหตรภวานนท์ พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2546
5 แพทย์หญิงอภิรมย์ เวชภูติ พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2549
6 นายแพทย์สวัสดิ์ เถกิงเดช พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2552
7 นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2555
8 นายแพทย์อุทัย ตัณศรารักษ์ พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2559
9 นายแพทย์สมบูรณ์ ทศบวร พ.ศ. 2559 ถึงปัจจุบัน

เขตคันนายาว Khan Na Yao District is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.

เขต คันนายาว – วิกิพีเดีย

สำนักงานเขตคันนายาว – กรุงเทพมหานคร

การติดต่อ – สำนักงานเขตคันนายาว – Google Sites

บริษัท เอ็มเค เมทัลชีท โปรดักส์ จำกัด

MK Metalsheet Products Company Limited

คันนายาว เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้ไขต้นฉบับ]

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ที่มาของชื่อเขต[แก้ไขต้นฉบับ]

ประมาณปี พ.ศ. 2386 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบคลองกุ่ม ต่อมามีผู้คนอพยพเข้าไปอยู่อาศัยในย่านนี้และย่านใกล้เคียงมากขึ้น พื้นที่บางส่วนกลายเป็นที่ทำนาผืนใหญ่[3] ในการทำนาก็จะมีการสร้างแนวดินให้พูนสูงขึ้นจากท้องนาเพื่อกั้นที่นาเป็นส่วน ๆ หรือเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับปลูกข้าว ซึ่งก็คือ “คันนา” มีที่นาอยู่ผืนหนึ่งใกล้กับคลองแสนแสบ กินอาณาเขตตั้งแต่ท้ายหมู่บ้านสุเหร่าแดง (ปัจจุบันคือบริเวณถนนเสรีไทย)[4] ไปสิ้นสุดตรงบริเวณที่เรียกว่า “โรงแดง” เพราะเป็นที่ตั้งของบ้านหลังหนึ่งที่มุงหลังคาสังกะสีเป็นสนิม มองเห็นเป็นสีแดงแต่ไกล (ปัจจุบันคือบริเวณถนนรามอินทรา) เรียกได้ว่าเป็นนาที่มีคันยาวมากที่สุด จึงสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อ “คันนายาว”[5][6]

ประวัติ[แก้ไขต้นฉบับ]

ตำบลคันนายาว ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยในปี พ.ศ. 2506 กระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลคันนายาวด้วย[7] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[9] ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลคันนายาวจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคันนายาว อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ

ด้วยเหตุที่เขตบางกะปิมีเนื้อที่กว้างขวางมากและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ โดยจัดตั้งเขตบึงกุ่ม ประกอบด้วยแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงแยกจากเขตบางกะปิ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กันยายนเป็นต้นไป[10] อย่างไรก็ตาม หลังจากแบ่งเขตใหม่แล้ว เขตบึงกุ่มยังคงมีท้องที่กว้างขวางและมีประชากรหนาแน่น ประกอบกับความเจริญทางด้านสาธารณูปโภคได้หลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยแยกแขวงคันนายาว รวมกับหมู่ที่ 3, 11 (บางส่วน) ของแขวงคลองกุ่ม และหมู่ที่ 1, 2, 9, 10 (บางส่วน) ของแขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว จัดตั้งเป็น เขตคันนายาว[11]

และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงคันนายาวเต็มพื้นที่เขตคันนายาวอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[12][13] ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตคันนายาวได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม[12] เขตสะพานสูง[12] เขตหลักสี่[14] เขตวังทองหลาง[15] และเขตคลองสามวา[16] โดยใช้พื้นที่ชั้นล่างของศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 7 แขวงคันนายาวเป็นที่ทำการ ต่อมาได้ย้ายมาตั้งสำนักงานเขตถาวรริมคลองครุ ในซอย 01 กาญจนาภิเษก 11/5 เมื่อช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2552[3]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้ไขต้นฉบับ]

วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคันนายาว และตั้งแขวงรามอินทรา เขตคันนายาว[17] โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตคันนายาวแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยใช้ถนนกาญจนาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่นประชากร
(ธันวาคม 2561)
คันนายาว Khan Na Yao
12.920
47,700
18,053
3,691.95
รามอินทรา Ram Inthra
13.060
49,487
26,181
3,789.20
ทั้งหมด
25.980
97,187
44,234
3,740.83

ประชากร[แก้ไขต้นฉบับ]

การคมนาคม[แก้ไขต้นฉบับ]

ในพื้นที่เขตคันนายาวมีทางสายหลัก ได้แก่

ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่

ทางน้ำมีคลองแสนแสบและคลองบางชัน ใช้สัญจร

สถานที่สำคัญ[แก้ไขต้นฉบับ]

 

Nothing Found

It seems we can’t find what you’re looking for. Perhaps searching can help.

Call Now Button