Category Archives: ไอคอนสยาม

ไอคอนสยาม

ไอคอนสยาม is a position for activity in post to be presented at the 1st  rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.

ไอคอนสยาม (อังกฤษICONSIAM, ชื่อเดิม: บางกอก เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ไอ-ซิตี้[2]) และ ไอซีเอส (อังกฤษICS) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมบนพื้นที่ 50 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณซอยเจริญนคร 5 และอีก 5 ไร่บริเวณฝั่งตรงข้าม ถนนเจริญนคร ใกล้ปากซอยเจริญนคร 4 ในพื้นที่แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง สยามพิวรรธน์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น มีพิธีเปิดโครงการในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 โครงการประกอบด้วยอาคารศูนย์การค้าขนาดใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวนสองอาคารเชื่อมต่อกัน ซึ่งมีพื้นที่ขายรวมกันมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย รองจากเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต, อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย 2 อาคาร ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย และอาคารศูนย์การค้าขนาดกลางที่เชื่อมต่อกับอาคารโรงแรม โดยพื้นที่ทั้งหมดเชื่อมต่อกันด้วยถนนภายในโครงการและสถานีรถไฟฟ้าสายสีทอง

ประวัติ[แก้]

ที่มาโครงการ[แก้]

ไอคอนสยามเกิดจากการร่วมมือกันของสยามพิวรรธน์เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์) มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 51:24.5:24.5 ตามลำดับ[3]

ไอคอนสยามตั้งอยู่ในพื้นที่เดิมของโรงสีสิบเก้า และตลาดศิรินทร์[4] ซึ่งต่อมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท สยามอรุณ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในเครือศรีกรุงวัฒนา[5][6] โดยพื้นที่โครงการตั้งอยู่ระหว่างโรงแรมเพนนินซูล่า กับโรงแรมมิลเลเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ นอกจากนี้ยังอยู่ตรงข้ามกับโรงแรมรอยัลออร์คิดเชอราตัน กรุงเทพ, โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ และอาคารสำนักงานของ กสท โทรคมนาคม สาขาบางรัก

ไอคอนสยาม มีมูลค่าการลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ 35,000 ล้านบาท[5] ต่อมาเพิ่มเป็น 50,000 ล้านบาท[7] และ 54,000 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนสูงที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น[8] ก่อนถูกทำลายสถิติโดยโครงการวัน แบงค็อก โดยครึ่งหนึ่งเป็นเงินลงทุนของบริษัทพันธมิตรทั้ง 3 บริษัท ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นสินเชื่อที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารธนชาต เป็นผู้สนับสนุน ซึ่งผู้ร่วมทุนทั้ง 3 บริษัท ได้วางแผนที่จะเชื่อมโยงโครงการเข้ากับโรงแรม ศูนย์การค้า และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน[7][9][10][11]

พิธีเปิด[แก้]

ไอคอนสยามจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ในชื่อ “มหาปรากฏการณ์งานเปิดเมืองไอคอนสยาม” โดยในช่วงเช้า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโครงการด้วยพระองค์เอง[1][12][13][14] และในช่วงค่ำได้มีการจัดการแสดงในชุด “โรจนนิรันดร” ที่เป็นการผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ไทยแขนงต่าง ๆ และกายกรรมผาดโผน รวมถึงมีการเปิดตัว “เรือสำเภาศรีมหาสมุทร” ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำแห่งแรกของประเทศไทย[15] มีการแสดงแปรขบวนของโดรนจากอินเทล จำนวน 1,400 ลำ และการแสดงคอนเสิร์ตของ อลิเชีย คีส์ รวมถึงการแสดงแสง สี เสียง ไปยังอาคารชุดเพื่อการพักอาศัยทั้ง 2 อาคารในโครงการด้วย[16]

ในวันที่ 9 พฤศจิกายน มีผู้เข้าร่วมพิธีเปิดจำนวนประมาณ 150,000 คน และในวันที่ 10 พฤศจิกายน ซึ่งเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการเป็นวันแรก มีจำนวนประชาชนเข้าใช้บริการประมาณ 200,000 คน[17] นอกจากนี้ในวันเดียวกัน ยังมีมินิคอนเสิร์ตของศิลปินจากซีรีส์ “รักใสใสหัวใจ 4 ดวง” ฉบับประเทศจีน[18]

ช่วงปีแรก[แก้]

ในช่วงครึ่งปีแรกหลังการเปิดไอคอนสยาม ได้มีการเปิดร้านค้า อีก 20-25 แบรนด์ อาทิ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร รวมถึงบริการต่าง ๆ อย่าง ไอคอน บาย ฟิตเนสเฟิร์ส สาขาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ,ไอคอนสยาม เฮอร์ริเทจ มิวเซียม, ทรู ไอคอนสยาม ฮอลล์ ศูนย์ประชุม[19]

จากสถิติหลังการเปิด 1 ปี (ข้อมูลปี พ.ศ. 2562) ไอคอนสยามมีผู้เข้ามาใช้บริการในวันปกติ เฉลี่ย 80,000-120,000 คนต่อวัน ส่วนในวันเทศกาล อย่างวันสิ้นปีใหม่ วันปีใหม่ วันลอยกระทง วันสงกรานต์ มีจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการ เฉลี่ย 200,000-350,000 รายต่อวัน มีสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติร้อยละ 35 จากกลุ่มหลักคือ จีน เกาหลี ไต้หวัน อินเดีย และกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) มียอดใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวราว 10,000-15,000 บาท ซึ่งสูงกว่าศูนย์การค้าทั่วไป[20]

เฟส 2[แก้]

ไอคอนสยามเตรียมพัฒนาไอคอนสยาม เฟส 2 บนเนื้อที่กว่า 5 ไร่ ฝั่งตรงข้ามไอคอนสยาม ประกอบด้วย โรงแรมฮิลตัน การ์เดน อินน์ กรุงเทพฯ ในเครือฮิลตัน ประกอบด้วยห้องพัก 244 ห้อง เปิดให้บริการในปี 2565, โค-เวิร์กกิ้ง สเปซ , ร้านค้า และซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ เป็นต้น[19]

การจัดสรรพื้นที่[แก้]

ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ถ่ายจากฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

โครงการไอคอนสยาม ออกแบบโดยใช้แนวคิด “เมืองแห่งความรุ่งโรจน์อันเป็นนิรันดร์” (The Icon of Eternal Prosperity) มีพื้นที่โครงการรวมทั้งหมด 750,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย

ศูนย์การค้า[แก้]

ภายในร้านแอปเปิลสโตร์แห่งแรกในประเทศไทย

ไอคอนสยาม ประกอบไปด้วยอาคารศูนย์การค้าจำนวน 2 อาคาร คือ ไอคอนสยาม (ICONSIAM) และไอคอนลักซ์ (ICONLUXE) โดยมีพื้นที่เฉพาะส่วนศูนย์การค้ารวม 525,000 ตารางเมตร ตัวอาคารออกแบบโดยได้แรงบันดาลใจจากกระทง บายศรี และสไบ ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้

  • สยามทาคาชิมาย่า (Siam Takashimaya) ห้างสรรพสินค้าในกลุ่มทาคาชิมาย่าสาขาแรกในประเทศไทย พื้นที่ 36,000 ตารางเมตร[21][22] โดยเป็นสาขานอกประเทศญี่ปุ่นที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด ภายในนอกจากจะมีการแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ เช่นเดียวกับห้างสรรพสินค้าโดยทั่วไปแล้ว ยังมีศูนย์อาหารโรส ฟู้ด อเวนิว ตลาดทากะ มาร์เช ฮอกไกโด โดซังโกะ พลาซา และโซนรวมร้านอาหารเอเชีย โรส ไดน์นิ่ง อีกด้วย[23]
  • สุขสยาม (SOOK Siam) พื้นที่สำหรับนำเสนอผลิตภัณฑ์และวัฒนธรรมไทย[24]
  • เดียร์ ทัมมี (Dear Tummy) ซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดมาร์เก็ตที่นำเสนอสินค้าและร้านอาหารระดับพรีเมียม
  • เซเว่น อีเลฟเว่น ร้านสะดวกซื้อรูปแบบพรีเมียมแห่งแรกในศูนย์การค้า[25]
  • แอปเปิลสโตร์ (Apple Store) สาขาแรกในประเทศไทย และเป็นสาขาที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อจากประเทศสิงคโปร์[26][27]
  • ไอคอนคราฟต์ (ICONCRAFT) แหล่งรวมงานหัตถศิลป์และนวัตศิลป์ฝีมือคนไทย โดยความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)[28]
  • ไอคอน ซีเนคอนิค (Icon Cineconic) โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป[29] จำนวน 14 โรง[23] ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ โฟร์ดีเอ็กซ์ และดอลบี แอทมอส ระบบละ 1 โรง
  • ซุปเปอร์พาร์ค (SuperPark) สวนสนุกจากประเทศฟินแลนด์ โดยเป็นสาขาที่สามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย[30]
  • ทรู ไอคอน ฮอลล์ (True Icon Hall) ศูนย์ประชุมและโรงมหรสพอเนกประสงค์ ประกอบด้วยโถงประชุมหลัก พื้นที่ 2,775 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 2,700 ที่นั่ง และห้องประชุมย่อยอีก 14 ห้อง (ร่วมทุนกับ ทรู คอร์ปอเรชั่น)[31]
  • ไอคอน บาย ฟิตเนส เฟิร์สท์ (Icon by Fitness First) สถานออกกำลังกายภายในศูนย์การค้า โดยเป็นฟิตเนส เฟิร์สท์ สาขาใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย[32][33]
  • ริเวอร์ มิวเซียม แบงค็อก (River Museum Bangkok) พิพิธภัณฑ์มาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้า โดยได้รับความร่วมมือจากกรมธนารักษ์ และกรมศิลปากร[31][34]

อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย[แก้]

อาคารชุดเพื่อการพักอาศัยของไอคอนสยาม กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

ไอคอนสยาม ประกอบด้วยอาคารที่พักอาศัย 2 อาคาร ได้แก่

  • แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนเซส แอท ไอคอนสยาม (Magnolias Waterfront Residences at ICONSIAM) เป็นอาคารที่พักอาศัยโดยแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น มีความสูง 317.95 เมตร ทำลายสถิติอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยของตึกคิง เพาเวอร์ มหานคร ที่ 314.2 เมตร ลงเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561[35]
  • เดอะ เรสซิเดนเซส แอท แมนดาริน โอเรียนเต็ล แบงค็อก อิน ไอคอนสยาม (The Residences at Mandarin Oriental Bangkok in ICONSIAM) ความสูง 272.20 เมตร เป็นอาคารที่พักอาศัยโดยกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ทแมนดาริน โอเรียนเต็ล แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอาคารที่มีความสูงเป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย[36]

พื้นที่จัดกิจกรรม[แก้]

วิวของเขตบางรัก และแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมองจากไอคอนสยาม

  • ริเวอร์พาร์ค (River Park) ทางเดินริมแม่น้ำและลานกิจกรรม ความยาวเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา 500 เมตร นับเป็นทางเดินริมแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังมี The Iconic Multimedia Water Features ซึ่งเป็นการแสดงระบำน้ำพุผสมแสง สี เสียง และสื่อผสม ที่มีความยาวมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน โดยมีความยาว 240 เมตร
  • ไอคอนสยามพาร์ค (ICONSIAM Park) สวนลอยฟ้าและจุดชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาภายในศูนย์การค้า ตั้งอยู่หน้าแอปเปิลสโตร์

โครงการไอซีเอส[แก้]

ไอคอนสยามมีแผนก่อสร้างอาคารในระยะที่ 2 บนพื้นที่ 5 ไร่ ฝั่งตรงข้ามของถนนเจริญนครในชื่อ ไอซีเอส (ICS) ประกอบด้วยร้านค้าและร้านอาหารเพิ่มเติมจากอาคารหลัก ซูเปอร์มาร์เก็ต และโรงแรมฮิลตัน การ์เดน อินน์ กรุงเทพ โดยกำหนดเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2564[33]

การเดินทาง[แก้]

เรือสำเภาศรีมหาสมุทร พิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ มีลักษณะจำลองเป็นเรือสำเภาจีนโบราณ[37]

  • ทางเรือ ท่าเทียบเรือจำนวน 4 ท่า สำหรับให้บริการเรือรับ-ส่ง จากท่าเรือโดยสารและท่าเรือโรงแรมริมแม่น้ำเจ้าพระยา[38]
  • บริการรถรับ-ส่ง (Shuttle bus) จากสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม
  • รถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นการร่วมทุนกับกรุงเทพมหานครในลักษณะการร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชน เพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟฟ้าโดยรอบจำนวน 3 สายเข้ากับโครงการ[39][40][41] ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 โดยจะสามารถเชื่อมต่อกับ สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ได้
  • รถประจำทาง สาย 3 ,6 ,84 ,ปอ.84 ,88 ,89 ,105 ,111, 120 ,149, 167, 177[42]

ท่าเรือใกล้เคียง[แก้]

ท่าก่อนหน้า เส้นทางเดินเรือ ท่าต่อไป
ท่าสี่พระยา
ปลายทาง ท่าน้ำนนทบุรี
เรือด่วนเจ้าพระยา
ท่าไอคอนสยาม
ท่าวัดม่วงแค
ปลายทาง ท่าวัดราชสิงขร
ท่าราชวงศ์
ปลายทาง ท่าพรานนก
เรือด่วนพิเศษธงทอง ท่าสาทร
ท่าเรือปลายทาง
ท่าล้ง 1919
ปลายทาง ท่าพระอาทิตย์
เรือท่องเที่ยวแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าสาทร
ปลายทาง ท่าวัดราชสิงขร

ระเบียงภาพ[แก้]

  • ภาพในวันที่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเป็นวันแรก
  • ภาพภายในส่วนห้างสรรพสินค้า

 

Nothing Found

It seems we can’t find what you’re looking for. Perhaps searching can help.

Call Now Button